×

สศท.11 เกาะติดสถานการณ์ ‘ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา’ จ.อุบลราชธานี เริ่มฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายนนี้

Please enter correct URL of your document.

สศท.11 เกาะติดสถานการณ์ ‘ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา’ จ.อุบลราชธานี เริ่มฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายนนี้           นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีความต้องการสูง ซึ่งผลผลิตเกือบทั้งหมดได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์อีกทั้งนโยบายภาครัฐมีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคงมากขึ้น
          สศท.11 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเกษตรกรมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป และเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน จากข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปีเพาะปลูก 2564/65 มีเนื้อที่ปลูกรวม 65,383 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 66,006 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.94) ผลผลิตรวม 53,281 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 53,465 ตัน (ลดลงร้อยละ 0.34) ทั้งนี้ เนื้อที่ปลูกและผลผลิตรวมลดลงเล็กน้อย เนื่องจากเกษตรกรบางส่วนมีการปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกพืชอื่น ประกอบกับช่วงกระทบแล้งฝนทิ้งช่วงและพบการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในบางพื้นที่ ส่งผลให้ผลิตบางส่วนเสียหาย ส่วนผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเล็กน้อย ร้อยละ 0.61 เนื่องจากเกษตรกรดูแลใส่ใจต้นข้าวโพดมากขึ้น
          สำหรับต้นทุนการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปีเพาะปลูก 2564/65 เฉลี่ยอยู่ที่ 5,240 บาท/ไร่/รอบการผลิต ให้ผลผลิตเฉลี่ย 817 กิโลกรัม/ไร่ ราคาขายข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ความชื้น 14.50 % เฉลี่ยอยู่ที่ 8.75บาท/กิโลกรัม เกษตรกรได้ผลตอบแทนเฉลี่ย6,911 บาท/ไร่/รอบการผลิต คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 8,089 บาท/ไร่/รอบการผลิต ซึ่งในช่วงนี้เกษตรกรบางส่วนเริ่มทยอยเก็บเกี่ยวผลผลิตบ้างแล้วในบางพื้นที่ แต่ส่วนใหญ่อยู่ระหว่างรอการเก็บเกี่ยวผลผลิตที่จะออกเต็มที่ช่วงเดือนเมษายน เพื่อส่งจำหน่ายให้กับโรงงานรับซื้อที่ตั้งอยู่ในพื้นที่
          ทั้งนี้ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เป็นพืชทางเลือกที่น่าสนใจ โดยภาครัฐมีการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกมากขึ้น เนื่องจากเป็นพืชที่ใช้น้ำน้อยเพียง 450 – 500 ลูกบาศก์เมตร/ไร่ มีระยะเวลาเพาะปลูกสั้น 100 – 110 วัน และยังให้ผลตอบแทนสูงเมื่อเทียบกับการทำนาปรัง ซึ่งนอกจากจะช่วยลดความเสี่ยงเรื่องน้ำในการเพาะปลูกแล้ว การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ยังช่วยตัดวงจรชีวิตของโรคและแมลงศัตรูข้าวได้ด้วย อย่างไรก็ตาม เกษตรกรควรรวมกลุ่มผลิต นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อให้สามารถลดต้นทุน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต รวมถึงเกษตรกรควรมีการวางแผนการผลิตให้ผลผลิตออกเป็นรุ่นอย่างต่อเนื่องควบคู่ไปด้วย เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของผู้รับซื้อ และนอกจากการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ยังมีพืชทางเลือกอื่น ๆ ที่น่าสนใจ ช่วยลดปริมาณการใช้น้ำและช่วยสร้างรายได้เสริมให้กับเกษตรกร ในพื้นที่ อาทิ ถั่วเขียว ถั่วเหลือง ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดฝักอ่อน เป็นต้น สามารถเพาะปลูกได้ทุกภูมิภาค หากเกษตรกรหรือท่านที่สนใจข้อมูลสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ของจังหวัดอุบลราชธานี สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ สศท.11 โทร. โทร 0 4534 4654 หรืออีเมล [email protected]

ข่าว : ส่วนประชาสัมพันธ์
ข้อมูล : สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี

ที่มา: https://shorturl.asia/KUTRo

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่13: เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567

ไฮไลท์หัวข้อการพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ประเด็นที่ต้องติดตาม 34

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 201

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2:   ฉบับที่ 11 ประจำเดือน มิถุนายน-กฤกฎาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ข่าวประชาสัมพันธ์ 323

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon