×

จี้ คน. เร่งตรวจสต๊อกพ่อค้าข้าวโพด อย่าเป็น “มวยล้มต้มคนดู” ทางแก้ราคาพุ่ง

รศ.ดร.ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เขียนบทความเรื่อง ตรวจสต๊อกพ่อค้าป้องกักตุน ทางแก้ข้าวโพดราคาพุ่ง ความว่า สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลถึงระดับราคาธัญพืชซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยูเครนระงับการส่งออกข้าวสาลี รวมถึงอาร์เจนตินาที่ระงับการส่งออกถั่วเหลือง และอีกหลายประเทศที่ทยอยระงับการส่งออกธัญพืช เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารของตนเอง  กลับมาดูราคาข้าวโพดในประเทศไทย ราคาพุ่งสูงขึ้นมาตลอดตั้งแต่ก่อนเกิดสงคราม ล่าสุดสูงถึงกิโลกรัม(กก.)ละ 13 บาท (จากปี 64 อยู่ที่ราคา 10.05 บาท/กก.) ส่งผลกระทบถึงต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อย่างหนัก และนำไปสู่การเรียกร้องขอให้รัฐแก้ปัญหาทั้งปริมาณและราคาวัตถุดิบโดยเร่งด่วน ก่อนเกิดวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของประเทศ  ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทยมีอยู่ราว 8 ล้านตันต่อปี แต่มีผลผลิตในประเทศเพียง 5 ล้านตันต่อปี ขาดแคลนถึง 3 ล้านตันต่อปี จึงต้องมีการหาวัตถุดิบทดแทน เช่น ข้าวสาลี ซึ่งรัฐอ้างการดูแลผู้ปลูกข้าวโพดในประเทศ จึงตั้งมาตรการ 3:1 (ซื้อข้าวโพด 3 ส่วน จึงจะนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน) มาตั้งแต่ปี 2561 กระทั่งปัจจุบันมาตรการดังกล่าว กลายเป็นอุปสรรคในการแก้สถานการณ์วัตถุดิบ เป็นที่มาของการผลการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และโรงงานอาหารสัตว์ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2565 ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ยกเลิก […]

“ยุโรป” ระส่ำ ขาดแคลนข้าวสาลี หลังรัสเซียประกาศหยุดส่งออก

“กบฏฮูตี” โจมตีโรงงานผลิตน้ำมันของซาอุดิอารามโก ไฟไหม้อย่างหนัก ดัน “ข้าวโพด-ถั่วเหลือง” ตลาดชิคาโก ราคาพุ่ง “ข้าวสาลี” ยุโรป ระส่ำ ขาดแคลน หลังรัสเซียประกาศหยุดส่งออก “ยูเครน” พื้นที่ลด เสียพื้นที่ให้ทหารรัสเซียยึดครอง ธนาคารกลางสหรัฐ สกัดเงินเฟ้อสูงสุดในรอบ 40 ปี แหล่งข่าววงการค้าพืชไร่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ”  ถึงความเคลื่อนไหว สถานการณ์ ตลาดชิคาโก หรือ Chicago Mercantile Exchang (CME) และ Chicago Board of Trade  (CBOT)   ณ วันศุกร์ที่ 25 มีนาคม 2565 สัญญาดีดตัวขึ้นตามราคาพลังงานที่พลิกขยับขึ้นสูงหลังจาก“กบฏฮูตี”   โจมตีโรงงานผลิตน้ำมันของบริษัทซาอุดี อารามโกในเมืองเจดดาห์ของซาอุดิอารเบีย ที่อาจจะทำให้การส่งออกน้ำมันดิบลดลง อีกทั้งนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีคลังสหรัฐเตือนว่าวิกฤติการณ์ “รัสเซีย-ยูเครน” ทำให้สินค้าโภค ภัณฑ์มีราคาพุ่งขึ้นและกระทบเศรษฐกิจโลกไปจนถึงปีหน้า, สัญญาธัญพืชตลาด CBOT พลิกขยับขึ้นปิดบวกได้ทุกตัว หลังจากปิดในแดนลบทุกตัวไปเมื่อวานนี้, วันที่ 31 มี.ค.จะมีรายงานคาดการณ์พื้นที่ปลูกของปี 2022และรายงานสต๊อกคงเหลือของสินค้า ณ วันที่ 1 […]

ต้นทุนสินค้าเกษตรพุ่งทะลุ 100% ชงรัฐบาลเพิ่มวงเงินประกันรายได้

สงครามรัสเซีย-ยูเครนสะเทือนต้นทุนการผลิตสินค้าเกษตรรอบใหม่ ราคา “ปุ๋ย-น้ำมัน-ค่าแรง” เพิ่มขึ้นกว่า 100% ฉุดรายได้เกษตรกรเดือดร้อน ข้าว-มัน-ปาล์ม-ยาง อ่วม ชงข้อมูลใหม่ให้รัฐปรับฐานราคาประกันรายได้ที่ใช้มาแล้ว 3 ปี พร้อมเจรจาร่วมทุนผลิตปุ๋ยจีน-ใช้วัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศ ภาคเกษตรกรไทยกำลังเผชิญความท้าทายอย่างหนัก หลังวิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครนร่วม 1 เดือนที่ผ่านมา ส่งผลต่อต้นทุนพลังงานปรับสูงขึ้นกระทบราคาน้ำมันในประเทศ-ราคาก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าจนต้องปรับขึ้นค่าเอฟที งวดที่ 2 อีกระลอก ขณะที่ต้นทุนการเพาะปลูก-ปศุสัตว์ต่างก็ได้รับแรงกดดันจากราคาธัญพืช-แม่ปุ๋ยที่ผลิตจากแหล่งรัสเซีย-ยูเครนปรับสูงขึ้น รวมถึงมาตรการแซงก์ชั่นรัสเซียทำให้หลายประเทศต้องแย่งชิงซื้อจากแหล่งอื่นทดแทน ปัญหาระดับโลกลามมาสู่ปัญหาเศรษฐกิจรากหญ้าจากต้นทุนการเกษตรสูงขึ้น แต่ระดับรายได้ลดลง ซึ่งภาครัฐยังคงใช้มาตรการประกันรายได้ราคาเดิม 3 ปีแล้ว นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ ประธานสภาเกษตรกรแห่งชาติ เปิดเผย “ประชาชาติธุรกิจ”ว่า ขณะนี้ต้นทุนเกษตรกรโดยรวมปรับสูงขึ้น ทั้งจากต้นทุนปุ๋ย ค่าน้ำมัน และค่าแรงงาน ซึ่งหากแยกเฉพาะด้านพบว่า ต้นทุนปุ๋ยและเคมีเกษตรปรับสูงขึ้นไปเกินกว่า 100% จากปีก่อน ส่งผลกระทบต่อรายได้เกษตรกร ซึ่งในบางสินค้ากระทบรุนแรง เพราะราคาขายในตลาดไม่ได้สูงขึ้น เช่น ข้าว ทำให้ขณะนี้มีสมาชิกร้องเรียนเข้ามาขอให้เสนอภาครัฐพิจารณาขยับฐานราคาในโครงการประกันรายได้ที่ใช้ระดับเดิมมาเป็นเวลา 3 ปีแล้ว เพื่อให้เกษตรกรได้มีรายได้เพียงพอกับต้นทุนที่เพิ่มขึ้น จากนี้จะรวบรวมข้อมูลต่าง ๆ เพื่อหารือกับรัฐต่อไป “ผลกระทบจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น หากแยกเป็นรายชนิด สินค้าพืชไร่จะกระทบมากกว่าสินค้าพืชสวน เช่น […]

สศท.11 เกาะติดสถานการณ์ ‘ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา’ จ.อุบลราชธานี เริ่มฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายนนี้

สศท.11 เกาะติดสถานการณ์ ‘ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังนา’ จ.อุบลราชธานี เริ่มฤดูกาลเก็บเกี่ยวเมษายนนี้           นางสาวอุษา โทณผลิน ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 11 อุบลราชธานี (สศท.11) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า “ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์” นับเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ เนื่องจากอุตสาหกรรมอาหารสัตว์มีความต้องการสูง ซึ่งผลผลิตเกือบทั้งหมดได้นำมาใช้เป็นวัตถุดิบหลักในอุตสาหกรรมการผลิตอาหารสัตว์อีกทั้งนโยบายภาครัฐมีโครงการส่งเสริมและสนับสนุนการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์หลังฤดูทำนา เพื่อเป็นทางเลือกให้กับเกษตรกรในการปลูกพืชทดแทนการปลูกข้าวนาปรัง ช่วยให้เกษตรกรมีรายได้มั่นคงมากขึ้น          สศท.11 ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์การผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งเกษตรกรมีการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปลูกช่วงเดือนพฤศจิกายน – กุมภาพันธ์ ของปีถัดไป และเก็บเกี่ยวผลผลิตช่วงเดือนมีนาคม – เมษายน จากข้อมูลพยากรณ์ ณ เดือนกุมภาพันธ์ 2565 คาดว่า ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์รุ่น 2 (ข้าวโพดหลังนา) ปีเพาะปลูก 2564/65 มีเนื้อที่ปลูกรวม 65,383 ไร่ ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 66,006 ไร่ (ลดลงร้อยละ 0.94) ผลผลิตรวม 53,281 ตัน ลดลงจากปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน […]

Right Menu Icon