×

จี้ คน. เร่งตรวจสต๊อกพ่อค้าข้าวโพด อย่าเป็น “มวยล้มต้มคนดู” ทางแก้ราคาพุ่ง

Please enter correct URL of your document.

รศ.ดร.ชินสัคค สุวรรณอัจฉริย นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์ เขียนบทความเรื่อง ตรวจสต๊อกพ่อค้าป้องกักตุน ทางแก้ข้าวโพดราคาพุ่ง ความว่า

สถานการณ์รัสเซีย-ยูเครน ส่งผลถึงระดับราคาธัญพืชซึ่งเป็นวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อยูเครนระงับการส่งออกข้าวสาลี รวมถึงอาร์เจนตินาที่ระงับการส่งออกถั่วเหลือง และอีกหลายประเทศที่ทยอยระงับการส่งออกธัญพืช เพื่อรักษาไว้ซึ่งความมั่นคงทางอาหารของตนเอง 

กลับมาดูราคาข้าวโพดในประเทศไทย ราคาพุ่งสูงขึ้นมาตลอดตั้งแต่ก่อนเกิดสงคราม ล่าสุดสูงถึงกิโลกรัม(กก.)ละ 13 บาท (จากปี 64 อยู่ที่ราคา 10.05 บาท/กก.) ส่งผลกระทบถึงต้นทุนการผลิตของเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อย่างหนัก และนำไปสู่การเรียกร้องขอให้รัฐแก้ปัญหาทั้งปริมาณและราคาวัตถุดิบโดยเร่งด่วน ก่อนเกิดวิกฤตความมั่นคงทางอาหารของประเทศ 

ความต้องการใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในไทยมีอยู่ราว 8 ล้านตันต่อปี แต่มีผลผลิตในประเทศเพียง 5 ล้านตันต่อปี ขาดแคลนถึง 3 ล้านตันต่อปี จึงต้องมีการหาวัตถุดิบทดแทน เช่น ข้าวสาลี ซึ่งรัฐอ้างการดูแลผู้ปลูกข้าวโพดในประเทศ จึงตั้งมาตรการ 3:1 (ซื้อข้าวโพด 3 ส่วน จึงจะนำเข้าข้าวสาลี 1 ส่วน) มาตั้งแต่ปี 2561

กระทั่งปัจจุบันมาตรการดังกล่าว กลายเป็นอุปสรรคในการแก้สถานการณ์วัตถุดิบ เป็นที่มาของการผลการประชุมร่วมระหว่างภาครัฐ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพด ข้าว มันสำปะหลัง เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ และโรงงานอาหารสัตว์ เมื่อวันที่ 15 มี.ค.2565

ในที่สุดที่ประชุมก็มีมติเห็นชอบให้ยกเลิก มาตรการ 3 : 1 เป็นการชั่วคราว เพื่อให้มีวัตถุดิบเพียงพอต่อการผลิต และบรรเทาภาระต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ซึ่งเชื่อมต่อไปถึงต้นทุนการผลิตของผู้เลี้ยงสัตว์ แต่ที่ผิดสังเกตคือการจำกัดระยะเวลาที่สั้นเพียงถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2565 ทั้งยังจำกัดโควต้าจำนวนนำเข้าด้วย จนไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ตามวัตถุประสงค์

ขณะที่วิกฤตสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ยูเครนประกาศระงับการส่งออกธัญพืชรวมทั้งข้าวสาลี ทำให้ราคาของข้าวสาลีในตลาดโลกราคาสูงขึ้นใกล้เคียงกับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์คือที่ 13.00 บาทต่อ กก.(จากปกติจะมีราคาต่ำกว่าข้าวโพดประมาณ 1 บาท) เมื่อราคาเท่ากันก็ไม่จูงใจให้เกิดการนำเข้าข้าวสาลีในช่วงนี้เพื่อทดแทนข้าวโพด

ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ราคาข้าวโพดในประเทศไม่ควรอยู่ในระดับสูง ในขณะที่กระทรวงพาณิชย์กำลังดำเนินการแก้ปัญหาต้นทุนการผลิตอาหารสัตว์ ย่อมต้องแสดงกึ๋นและฝีมือในการจัดการสถานการณ์อย่างเร่งด่วนให้ทันเหตุการณ์  อะไรเป็นอุปสรรคทำต้นทุนสูงต้องรีบเคลียร์ รวมถึงปัจจัยเอื้อให้ราคาสูงนอกเหนือจากสถานการณ์สงคราม เช่น การกักตุนเพื่อเก็งกำไร เพราะช่วงที่ผ่านมาเป็นช่วงที่เกษตรกรเก็บเกี่ยวข้าวโพดทั้งหมดและขายให้ไปอยู่ในสต๊อกของพ่อค้าพืชไร่หมดแล้ว

อันที่จริงเคยมีการร้องเรียนให้ภาครัฐตรวจสต็อกวัตถุดิบอาหารสัตว์ของพ่อค้าพืชไร่ เพราะปริมาณข้าวโพดในตลาดน้อยลงจนผิดสังเกต แต่ภาครัฐกลับเข้าตรวจสต๊อกของโรงงานอาหารสัตว์แทน ทั้ง ๆ ที่โรงงานเหล่านี้รายงานสต๊อกให้กรมการค้าภายในทราบทุกๆ 10 วันเป็นประจำตามปกติอยู่แล้ว คล้ายเป็นมวยล้มต้มคนดู

ทำให้เกิดข้อสงสัยอย่างกว้างขวางว่าเหตุใดรัฐจึงละเลยการตรวจสต๊อกพ่อค้าซึ่งเป็นคนกุมปริมาณข้าวโพดไว้ในมือทั้งหมด ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ยังคงต้องจ่ายค่าข้าวโพดราคาแพงมาโดยตลอด  

หากมีการกักตุนผลผลิตข้าวโพด ย่อมผลักดันให้ราคาพุ่งสูงขึ้นได้มาก โดยไม่รู้ว่าจะสิ้นสุดลงที่จุดใดเพราะไม่มีเพดานราคา กำกับ ภาคผู้ผลิตและผู้เลี้ยงต้องซื้อวัตถุดิบในราคาที่สูงขึ้นเรื่อยๆ แบกรับภาระต้นทุนอย่างหนักหน่วง แต่รัฐกลับขอให้ตรึงราคาสินค้าปศุสัตว์ ทั้งไก่เนื้อ ไข่ไก่  ซึ่งในที่สุดเกษตรกรผู้ผลิตอาหารจะอยู่ไม่ได้   

นอกจากนี้ ตัวเลขปริมาณการส่งออกวัตถุดิบทั้ง 2 รายการจากกรมศุลกากร พบว่าในปี 2564 มีการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์กว่า 93,615 ตัน เฉพาะช่วงเดือน พ.ย. และ ธ.ค. ส่งออกรวมกันถึง 65,930 ตัน และในส่วนของกากถั่วเหลืองตลอดปี 2564 มีการส่งออกถึง 103,091 ตัน หากภาครัฐยังคงนโยบายอนุญาตให้ส่งออกข้าวโพดได้อย่างเสรี และส่งออกกากถั่วเหลืองได้ร้อยละ 20 ของกำลังการผลิตของโรงสกัดน้ำมันถั่วเหลือง ปริมาณวัตถุดิบก็จะไม่เพียงพอ และเป็นผลให้ราคาในประเทศสูงขึ้นต่อเนื่องดังเช่นที่เป็นอยู่ในขณะนี้

ดังนั้น รัฐบาลไทยควรระงับการส่งออกวัตถุดิบอาหารสัตว์ ทั้งข้าวโพดและกากถั่วเหลืองเป็นการชั่วคราวจนกว่าสถานการณ์วิกฤตจะคลี่คลายลง เพื่อคงปริมาณวัตถุดิบดังกล่าวให้สอดคล้องกับความต้องการ ซึ่งจะเป็นการบรรเทาการขาดแคลน และส่งผลทางจิตวิทยาให้ระดับราคาข้าวโพดในประเทศลดลงได้  

นาทีนี้กรมการค้าภายใน(คน.) กระทรวงพาณิชย์ ควรแสดงความจริงใจในการแก้ปัญหาวัตถุดิบโดยเร่งตรวจสอบสต๊อกพ่อค้าพืชไร่โดยด่วน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดต้นทุน ซึ่งจะส่งผลไปถึงเกษตรกรคนเลี้ยงสัตว์ด้วย นอกจากนี้ ยังควรตัดสินใจให้เกษตรกรคนเลี้ยงสัตว์สามารถขายสินค้าในราคาที่สอดคล้องต้นทุน ไม่ใช่กดดันให้แบกต้นทุนสูงแต่ขายราคาต่ำ จนส่งผลกระทบไปตลอดห่วงโซ่

ที่มา: https://www.thansettakij.com/economy/518891

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวสำนักงานปศุสัตว์ยั่งยืน  ฉบับที่ 11 ประจำเดือน มิถุนายน-กฤกฎาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ข่าวประชาสัมพันธ์ 169

จดหมายข่าวสำนักงานปศุสัตว์ยั่งยืน  ฉบับที่ 10 ประจำเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย ข่าวประชาสัมพันธ์ 300

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่9: เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2567

🔥 ไฮไลท์หัวข้อ♦️ความคืบหน้ากิจกรรมความร่วมมือ (คณะทำงานTSFR,ภาคีปศุสัตว์และสัตว์น้ำไทย และภาคีข้าวคาร์บอนต่ำไทย)♦️ความร่วมมือกับ USSEC♦️กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 525

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon