×

Dumpster diving หมายถึงการคุ้ยหาของเหลือทิ้งในถังขยะในชุมชน หรือตามสถานที่ประกอบธุรกิจต่าง ๆ ของเหลือทิ้งพวกนี้ถูกทิ้งในฐานะ “ขยะ” แต่คนที่ไปคุ้ยมองหาสิ่งที่ยังไม่ถือว่าเป็นขยะ เช่น อาหารที่ถูกทิ้งจากร้านอาหาร หรือซูเปอร์มาร์เก็ตที่ยังรับประทานได้ แต่เหตุที่นำไปทิ้งเพราะมันหมดอายุ หรือไม่ได้เกณฑ์มาตรฐานคุณภาพ
.
เราเคยรายงานไปหลายครั้งแล้วว่า “ของเหลือ” พวกนี้ยังบริโภคได้แต่ถูกทิ้งเพราะมาตรฐานของภาคธุรกิจที่เข้มงวดเกินไปเรื่องวันหมดอายุ ของที่ยังกินได้ปริมาณมหาศาลจึงถูกทิ้งลงถังในแต่ละวันจำนวนมหาศาล และการไปทำ Dumpster diving ก็ยังเป็นเรื่องผิดกฎหมายด้วย เพราะเกี่ยวกับความกังวลของภาครัฐเรื่องสุขอนามัย
.
แต่นักเคลื่อนไหวหลายคนไม่เชื่อที่รัฐสั่ง พวกเขาเชื่อว่าอาหารไม่ควรถูกทิ้งทั้ง ๆ ที่ยังกินได้ นักกิจกรรม Dumpster diving ต่อต้านอำาจรัฐด้วยวิธีนี้และถูกจับกุม เช่น นักประดาน้ำชาวเบลเยียมและนักเคลื่อนไหวเพื่อสิ่งแวดล้อมที่มีชื่อเล่นว่า Ollie ถูกควบคุมตัวเป็นเวลาหนึ่งเดือนในข้อหานำอาหารออกจากถังขยะที่ซูเปอร์มาร์เก็ต AD Delhaize ในเมืองบรูจส์ คดีของ Ollie ทำให้เกิดการประท้วงในเบลเยียมเกี่ยวกับข้อห้ามที่เข้มงวดเรื่องอาหารที่ถูกทิ้ง
.
บางประเทศมีกฎหมายที่เข้มงวดมาก เช่น ในอังกฤษ แคนาดา และเยอรมนีอาจตั้งข้อหาโจรกรรมได้เลย แต่ในเยอรมนีตำรวจอาจจะทำเป็นไม่สนใจคดีแบบนี้เพราะมูลค่าของ “ทรัพย์สิน” มันต่ำมาก และในทางปฏิบัติมันก็เป็นขยะไปแล้ว แต่ที่มันเป็นข้อหาหนักก็เพราะบางทีมีการบุกรุกถังขยะในพื้นที่่ส่วนบุคคล
.
แต่มันไม่ใช่แค่การลักลอบไปขนอาหารเหลือมาเพื่อกินต่อเท่านั้น แต่เป็นการประท้วงแบบหนึ่งด้วย นั่นคือการประท้วงภาคธุรกิจ ภาครัฐที่ “สมคบกัน” เพื่อทำให้เกิดอาหารเหลือทิ้งมหาศาล แต่ก็มีคนที่ทำเพื่อให้สังคมรู้ว่ามันไม่ควรถูกทิ้งเยอะขนาดนี้ และเราสามารถใช้ประโยชน์จากมันได้ อย่างเช่นในตอนนี้มีคนที่ทำ Dumpster diving กำลังดังใน TikTok ที่มีชื่อ Theresa Kadish ซึ่งมียอดวิวกว่า 40 ล้านวิว
.
ในคลิปของ Theresa Kadish เราจะเห็นเธอจอดรถรีบวิ่งไปที่ถังขยะตามซูเปอร์มาร์เก็ต หรือร้านค้าแล้วลงไปคุ้ยหาของที่ยังกินได้ซึ่งไม่ใช่ของเหลือทิ้งธรรมดาแต่มาพร้อมกับแพ็คเกจ สิ่งที่เธอได้มาบางทีเป็นผลไม้ที่ยังสดพอสมควรมาเป็นลัง ๆ มันฝรั่งที่ยังกินได้เป็นกิโล ๆ พิซซ่าสำเร็จรูป หรืออาหารกล่องรูปแบบต่าง ๆ ที่บอกว่าหมดอายุ แต่มันยังกินได้
.
เมื่อ Theresa Kadish ได้มันมา ถ้าเป็นของสดเธอจะนำมาแปรรูปให้เก็บไว้กินนาน ๆ เช่น สตรอว์เบอร์รี่ หรือกล้วยที่เสียง่ายเธอจะนำไปอบให้แห้งเธอบอกว่าเมื่ออบแล้วพวกมันจะกลายเป็นอาหารที่มีคุณภาพขึ้นมา และแน่นอนว่าไม่ต้องทิ้งไปทั้ง ๆ ที่ยังกินได้ และสิ่งที่ได้มาเธอไม่ได้กินเองเท่านั้น ยังสามารถนำไปแจกจ่ายให้ผู้ด้อยโอกาสในสังคมด้วย
.
เธอบอกว่า “ผลไม้ถูกทิ้งในถังขยะไม่ใช่เพราะพวกมันกินไม่ได้แล้ว แต่เพราะพวกมันขายไม่ได้แล้ว ซึ่งฉันไม่สนใจว่ามันจะขายไม่ได้หรือเปล่า” และบอกว่า “หลังจากกระโจนลงไปในถังขยะ คุณจะไม่มองอาหารเหลือทิ้งด้วยสายตาแบบเดิมอีกต่อไป” และเธอก็มีเพื่อนร่วมอุดมการณ์ที่ช่วยกันคุ้ย ช่วยกันปรุง และช่วยกันกินอย่างเอร็ดอร่อย ยังไม่นับคนที่ดูและติดตามเธอเป็นสนเป็นล้านคน
.
แล้วเรื้่องกฎหมายล่ะ? Theresa Kadish บอกว่า มันเป็นพื้นที่สีเทา ไม่เชิงถูกกฎหมาย และไม่ผิดกฎหมายเสียทีเดียว (ในสหรัฐอเมริกา) และก็ไม่มีคนมาบอกเธอว่า สิ่งที่เธอทำมันผิดนะ เธอยังบอกว่า เธอพบอาหารเหลือทิ้งมากจนเรียกว่า จะให้วิจารณ์ธุรกิจที่ทำให้เหลือของขนาดนี้ก็ได้ แต่เธอยังบอกว่า มันไม่ใช่เรื่องง่ายที่บริษัทอาหารจะเลี้ยงคนหลายล้านคนได้ขนาดนี้ มันต้องมีของเหลืออยู่แล้ว
.
การทำ Dumpster diving เริ่มได้รับความเห็นอกเห็นใจจากสังคมมากขึ้น เช่น ในเดือนตุลาคม ปี 2556 มีชายสามคนที่ลอนดอนเหนือถูกจับ และถูกตั้งข้อหาภายใต้พระราชบัญญัติคนจรจัด พ.ศ. 2367 หลังถูกจับได้ว่ากินอาหารเหลือทิ้ง คือ มะเขือเทศ เห็ด ชีส และเค้กจากถังขยะหลังซูเปอร์มาร์เก็ตชื่อ Iceland แต่ตำรวจถอนคดีไปหลังเกิดการวิพากษ์วิจารณ์จากสาธารณชน แม้แต่เจ้าของซูเปอร์มาร์เก็ตเองก็วิวอนให้ตำรวจถอนคดีด้วยซ้ำ

Please enter correct URL of your document.

ข้อมูลจาก
• teiresiaskadish / TikTok
• “Inside Dumpster Diving”. (December14, 2021) BuzzFeed.

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่3: ฉบับที่14: เดือน ธันวาคม 2567 – มกราคม 2568

ไฮไลท์หัวข้อ ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านวัตถุดิบยั่งยืน กิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานในเครือข่าย ประเด็นติดตามที่สำคัญ ข่าวประชาสัมพันธ์ 142

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่13: เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567

ไฮไลท์หัวข้อการพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ประเด็นที่ต้องติดตาม 339

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 318

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon