×

ยืนคนละมุม แก้ปัญหาอาหารสัตว์

กรมการค้าภายในแจ้งเลื่อนการประชุมไม่มีกำหนด ประชุมแก้ปัญหาอาหารสัตว์ล่ม สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยส่งหนังสือด่วนที่สุดถึงอธิบดีกรมการค้าภายใน ลาประชุม ด้านกรมการค้าภายในแจ้งเลื่อนประชุมไม่มีกำหนด นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยทำหนังสือด่วนที่สุดถึงอธิบดีกรมการค้าภายใน แจ้งลาประชุมหารือเพื่อแก้ไขและผ่อนคลายปัญหาราคาสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ ย้ำกรมการค้าภายในสามารถตัดสินใจบนข้อมูลที่มีอยู่แล้ว โดยเนื้อความจดหมายระบุว่า “ตามที่ กรมการค้าภายในได้มีหนังสือเชิญประชุมหารือเพื่อแก้ไขและผ่อนคลายปัญหาราคาสินค้าวัตถุดิบอาหารสัตว์ โดยมีกำหนดในวันที่ 23 มีนาคม 2565 เวลา 13.00 น. และขอปรับเปลี่ยนเวลาประชุมเป็น 15.00 น.โดยการประชุมครั้งนี้จะเป็นการประชุมต่อเนื่องจากการประชุมกับท่านปลัดกระทรวงพาณิชย์และปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 2565 ซึ่งจะพิจารณากำหนดโควต้าจำนวนนำเข้าข้าวสาลีภายใต้การผ่อนปรนมาตรการนำเข้าข้าวสาลี 3:1 ส่วนนั้น สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ขอเรียนท่านว่า เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2565 ที่ผ่านมา สมาคมชาวไร่มันสำปะหลัง สภาเกษตรกรแห่งชาติ และสมาคมการค้าพืชไร่ ได้ออกข่าวไม่เห็นด้วยกับการผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวและมีข้อสอบถามต่างๆ ซึ่งเป็นคำถามเดิมที่ได้มีการชี้แจงไปแล้วในหลายเวที และบางคำถามกรมการค้าภายในมีข้อมูลอยู่แล้ว การให้ข่าวตังกล่าวจะเป็นการสร้างบรรยากาศที่ขัดแย้งต่อที่ประชุม และทำให้การประชุมไม่มีข้อยุติคล้ายกับบรรยากาศการประชุมกับท่านปลัดทั้งสองกระทรวงเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ที่ผ่านมา ในการนี้ เพื่อไม่ให้เกิดบรรยากาศขัดแย้งดังกล่าว สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย จึงขอลาการประชุมในครั้งนี้ หากกรมการค้าภายในมีข้อสอบถามข้อมูลอื่นใดเพิ่มเติมสมาคมยินดีที่จะทำหนังสือตอบคำถามไปยังท่านโดยตรงเพื่อนำไปประกอบการพิจารณาต่อไป ทั้งนี้สมาคมเห็นว่าการพิจารณาผ่อนปรนมาตรการดังกล่าวเป็นอำนาจของรัฐท่านสามารถตัดสินใจได้จากข้อมูลที่ท่านมีอยู่ได้” ทั้งนี้ […]

ปลัดเกษตร ชี้ตลาดข้าวโลกแข่งเดือด อินเดีย เวียดนาม ตีตื้น

ปลัดเกษตรฯ ชี้ตลาดข้าวโลกแข่งขันสูง จากคู่แข่งอินเดีย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา สหรัฐ โควิด-19 ติดปัญหาโลจิสติกส์กระทบส่งออก เร่งแก้ 6 ปี แผนตลาดข้าวครบวงจร ควบคู่ตลาดนำการผลิต วันที่ 22 มีนาคม 2565 นายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยในการสัมมนา การขับเคลื่อนแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจร ปีการผลิต 2565/2566 กรมการข้าว ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ว่าถึงแม้กระทรวงมีการวางแผนการผลิตและการตลาดข้าวครบวงจรมาแล้ว 6 ปี แต่แนวโน้มการผลิตและการตลาดข้าวยังคงมีความผันผวน จากสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 รวมไปถึงสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว ภัยธรรมชาติ และความตึงเครียดทางการเมือง รวมทั้งการแข่งขันในตลาดโลกค่อนข้างสูงจากทั้งอินเดีย เวียดนาม กัมพูชา เมียนมา และสหรัฐอเมริกา ปัญหาด้านโลจิสติกส์ ตลอดจนการแข่งขันทางด้านการวิจัยและพัฒนาข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีความจำเป็นที่จะต้องมีการวางแผนการผลิตและการตลาดให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงและเพิ่มศักยภาพการแข่งขันในตลาดโลก มุ่งเน้นหลักการตลาดนำการผลิต เชื่อมโยงเกษตรกรกับหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน ควบคู่กับการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เหมาะสมกับพื้นที่มาปรับใช้เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิตให้เกษตรกรทำการเกษตรแบบปลอดภัย และมีคุณภาพตามมาตรฐานสากล ยกระดับความเป็นอยู่ รายได้ และความสุขของเกษตรกรอย่างยั่งยืน […]

นายกฯ สั่งเร่งแก้ ‘ปุ๋ย – อาหารสัตว์’ แพง

ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรก่อนเข้าสู่ฤดูการเพาะปลูก นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ระบุ ได้สั่งให้กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ออกมาตรการเร่งด่วนเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรก่อนเข้าสู่ฤดูการเพาะปลูก ทั้งเรื่องปุ๋ยเคมี และอาหารสัตว์ราคาแพง โดยให้เน้นการใช้วัตถุดิบในประเทศ เพราะในแต่ละปีไทยต้องนำเข้าปุ๋ยจากต่างประเทศเป็นจำนวนมาก ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/995253

งดภาษี – เลิกโควต้า – ระงับส่งออกธัญพืช หนทางแก้ปัญหาวัตถุดิบ

โดย … ธนา วรพจน์วิสิทธิ์ นับเป็นเรื่องดีที่ได้เห็นความกระตือรือร้นของรัฐ ในการหาหนทางช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ลดต้นทุนการผลิต จากราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ที่ปรับตัวสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์เนื่องจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครน ซึ่งควรเป็นมาตรการเร่งด่วน ล่าสุด รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังกล่าวถึงประเด็นการนำเข้าวัตถุดิบจากต่างประเทศที่มีราคาสูง โดยจะพิจารณางดภาษีนำเข้ากากถั่วเหลือง ร้อยละ 2 เป็นการชั่วคราว เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตอาหารสัตว์มีต้นทุนที่ลดลงและส่งต่อไปยังเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ด้วย มาตรการนี้เป็นหนึ่งในเรื่องเร่งด่วนที่รัฐจะบริหารจัดการต้นทุนวัตถุดิบ เพื่อรักษาความมั่นคงทางอาหารท่ามกลางสถานการณ์วิกฤต แต่ยังมีอีกหลายประเด็นที่ไม่ควรมองข้ามและมีความจำเป็นเร่งด่วนไม่แพ้กัน มาตรการ 3:1 หรือ การซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศ 3 ส่วนต่อการนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน เป็นอีกอุปสรรคหนึ่งของการจัดการวัตถุดิบอาหารสัตว์ ซึ่งรัฐทราบดีและที่ประชุมร่วมกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย ตัวแทนเกษตรกรผู้เลี้ยงไก่เนื้อ ไก่ไข่ สุกร เมื่อวันที่ 15 มี.ค. 2565 ก็มีมติเห็นชอบให้ ยกเลิกมาตรการนี้เป็นการชั่วคราว จนถึงวันที่ 31 ก.ค.2565 มาตรการดังกล่าวน่าจะสามารถช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของผู้ผลิตอาหารสัตว์ได้บ้าง ในช่วงที่วัตถุดิบขาดแคลนและมีราคาแพง แต่สิ่งที่ทำให้การยกเลิกมาตรการนี้ไม่เกิดประโยชน์ก็คือการจำกัดช่วงเวลาที่สั้นเกินไป กล่าวคือกรอบเวลาถึงวันที่ 31 ก.ค. 2565 จะเหลือเวลาอีกประมาณ 3 เดือน ซึ่งยังต้องรอรับทราบโควต้าหรือปริมาณการนำเข้าตามที่ภาครัฐจะกำหนดอีก ทั้งๆที่ไม่ควรกำหนด “ที่ผ่านมาไทยมีการนำเข้าข้าวสาลีเดือนละประมาณ […]

1 2
Right Menu Icon