×

ผู้เลี้ยงไก่จี้รัฐ ‘คุม’ ราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์

สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อราคาธัญพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ทั้งข้าวสาลีและข้าวโพด นายกสมาคมส่งเสริมการเลี้ยงไก่แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ฉวีวรรณ คำพา ระบุ สถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซีย-ยูเครน มีผลกระทบอย่างยิ่งต่อราคาธัญพืช ซึ่งเป็นวัตถุดิบสำคัญในการผลิตอาหารสัตว์ เพราะรัสเซียและยูเครนเป็นแหล่งเพาะปลูกสำคัญ ทั้งข้าวสาลีและข้าวโพด ปัจจุบันราคาวัตถุดิบอาหารสัตว์ส่วนใหญ่ปรับตัวสูงขึ้น 50-60% โดยข้าวสาลีนำเข้า ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในการเลี้ยงไก่ ราคาปรับเพิ่มขึ้นเป็น 12 บาท/กิโลกรัม จากเดิม 8-9 บาท/กิโลกรัม ขณะที่ราคาข้าวโพดในประเทศอยู่ที่ 11.10 บาท/กิโลกรัม และยังมีปัจจัยราคาพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มขึ้นตามไปด้วย รัฐบาลและกระทรวงพาณิชย์ต้องแก้ไขปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบอาหารสัตว์ อย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการลดภาษีนำเข้าวัตถุดิบที่ใช้เลี้ยงสัตว์ ทั้งกากถั่ว ข้าวโพด และวัตถุดิบอื่นๆ เพื่อลดต้นทุนการผลิตของผู้ประกอบการ เพราะที่ผ่านมาเกษตรกรแบกรับต้นทุนมาโดยตลอด หากรัฐไม่สามารถควบคุมราคาวัตถุดิบได้ ก็ควรปล่อยให้ราคาไก่และไก่ไข่เป็นไปตามกลไกตลาดที่ควรจะเป็น ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/991486

หมูเนื้อแดง ปรับขึ้นราคา 3 บาท/กิโลกรัม

สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ปรับขึ้นราคาหมูหน้าฟาร์มเฉพาะภาคตะวันตก 2 บาท/กก. ส่วนราคาขายปลีกปรับขึ้นอีก กก.ละ 3 บาท เป็น 170-176 บาท/กก. คาดแนวโน้มยังขาขึ้นต่อเนื่องวันพระหน้า จากต้นทุนการผลิตปรับสูงขึ้น วันที่ 2 มีนาคม 2565 รายงานข้อมูลจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ระบุว่า สภาวะตลาดสุกรมีชีวิตหน้าฟาร์ม (สัปดาห์ที่ 9/2565) วันพระที่ 2 มีนาคม 2565 ได้มีการปรับราคาหมูหน้าฟาร์ม ภาคตะวันตก เพิ่ม อีกกก.ละ 2 บาท จากเดิม กก.ละ 84 บาท เป็น กก.ละ 86 บาท ส่วนภาคอื่นๆ ทรงตัว เช่น ภาคตะวันออก กก.ละ 86 บาทภาคอีสาน กก.ละ 88 บาท ภาคเหนือ กก.ละ 87 บาท และ […]

ยูเครนทุบซ้ำ “อาหารสัตว์” โรงงานขยับออกต่างประเทศ

ในรอบ 5 ปีที่ผ่านมา การผลิตอาหารสัตว์ของไทยทรงตัวที่ประมาณ 20-21 ล้านตันต่อปี และมีแนวโน้มว่าปีนี้การผลิตอาหารสัตว์จะลดลงเหลือ 19.08 ล้านตันเท่านั้น แต่ล่าสุดเกิดความพลิกผันการผลิตอาหารสัตว์อาจทำได้เพียง 17-18 ล้านตันจากสถานการณ์สงครามรัสเซีย-ยูเครนเป็นแรงกดดันทำให้ต้นทุนการผลิตอาหารพุ่ง โดยยูเครนถือเป็นแหล่งปลูกและส่งออก “ข้าวสาลี” ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารคนและอาหารสัตว์ปรับตัวสูงขึ้นในรอบ 10 ปี อุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่ใช้วัตถุดิบ “ธัญพืช” ชนิดนี้ทั่วโลกรวมถึงไทยถูกแรงบีบอย่างหนัก “นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และเลขาธิการสมาพันธ์ปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำยอมรับว่า สถานการณ์สงครามยูเครนที่กำลังส่งผลกระทบรุนแรงต่อการผลิตอาหารของประเทศรัสเซียและยูเครนเป็นผู้ส่งออกพืชวัตถุดิบอาหารสัตว์รายใหญ่ของโลก มีปริมาณการส่งออกข้าวสาลีรวมกันราว 29% ของปริมาณการส่งออกทั่วโลก และมีสัดส่วนการส่งออกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สูงถึง 19% ของตลาดโลก “เมื่อเกิดสงครามทำให้ระดับราคาข้าวสาลีพุ่งสูงขึ้นทันทีเป็น 12.75 บาท/กก. จากราคา 8.91 บาท/กก.ในปี 2564 หรือสูงขึ้นประมาณ 30-35% ขณะที่ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในประเทศไทยพุ่งสูงกว่าตลาดโลกไปอยู่ที่ 12 บาท/กก. และมีแนวโน้มขยับต่อเนื่องไปถึง 15 บาท/กก. แม้จะราคาแพงขนาดไหนแต่ก็ไม่มีผลผลิตข้าวโพดออกสู่ตลาดแล้ว จากความต้องการใช้ข้าวโพดทั้งหมด 7.98 ล้านตัน ยังขาดแคลนถึง 3.18 ล้านตัน จำเป็นต้องใช้วัตถุดิบทดแทนซึ่งได้แก่ […]

“สมาคมการค้าพืชไร่” เบรก “พาณิชย์” ยกเลิกซื้อข้าวโพด 3:1 นำเข้าข้าวสาลี

จับตา วันพรุ่งนี้ นายกสมาคมการค้าพืชไร่ ยื่นหนังสือ “จุรินทร์” เบรก ยกเลิกซื้อข้าวโพด เลี้ยงสัตว์ 3:1 ยันผลผลิตในประเทศทดแทนเพียงพอ ทั้งมันสำปะหลัง ข้าว ผวาหลงกล โรงงานอาหารสัตว์ อ้างสงคราม รัสเซีย-ยูเครน ทำวัตถุดิบขาดแคลน สะเทือนผู้เลี้ยง นายพรเทพ ปู่ประเสริฐ นายกสมาคมการค้าพืชไร่ เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า ในวันพรุ่งนี้  ในวันที่ 4 มีนาคม 2565 จะส่งหนังสือถึง คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เรื่อง   ข้อควรระวังในการปรับเปลี่ยนนโยบายที่ส่งผลกระทบในระยะยาว ซึ่งทางสมาคมเห็นว่า จากกระแสข่าว ผลกระทบจากสงครามรัสเซีย-ยูเครนทำราคาอาหารพุ่งทั่วโลก ส่งสัญญาณทำให้ประเทศไทยมีโอกาสขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ จนทำให้โรงงานหลายแห่งหยุดการผลิต มองว่าเป็นการให้ข่าวสร้างกระแสโอกาสขาดแคลนวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศอย่างเป็นระบบนั้น สมาคมการค้าพืชไร่ ขอเสนอสรุปเป็น 3 ประเด็น  ซึ่งประเด็นที่ 1 การนำเสนอข่าวดังกล่าวอาจส่งผลต่อการกดดันภาครัฐให้กำหนดนโยบายเป็นไปตามการเรียกร้องที่ต้องการให้ยกเลิกมาตรการ  3:1 (ใช้ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ไทย 3 ส่วน ต่อการนำเข้าข้าวสาลีอาหารสัตว์ 1 ส่วน)  […]

Right Menu Icon