สรุปหัวข้อข่าวด้านการเกษตรที่สำคัญ ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2564
อ่านย้อนหลังทั้งหมด คลิกที่นี่
อ่านย้อนหลังทั้งหมด คลิกที่นี่
ราคาข้าวปี 2565 คาดกระเตื้องขึ้นอยู่ที่ 8,900-9,400 บาทต่อตัน บนปัจจัยท้าทายที่รุมเร้า…นโยบายภาครัฐยังคงบทบาทสำคัญ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ราคาข้าวไทยในปี 2565 น่าจะให้ภาพการเติบโตที่กระเตื้องขึ้นเล็กน้อยหลังจากผ่านจุดต่ำสุดมาแล้วในปี 2564 แต่คงเป็นการเติบโตบนฐานที่ต่ำ คาดว่าอาจอยู่ที่ราว 8,900-9,400 บาทต่อตัน หรือหดตัวร้อยละ 1.6 ถึงขยายตัวร้อยละ 4.0 จากปัจจัยหนุนด้านอุปทานที่คาดว่าปัญหา Supply Disruption จากการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์เพื่อส่งออกน่าจะคลี่คลายมากขึ้นหลังกลางปี 2565 อย่างไรก็ดี คงต้องจับตาปัจจัยท้าทายที่ยังคงรุมเร้าต่อเนื่องจากปีก่อน อย่างการแข่งขันในตลาดโลกที่รุนแรงโดยเฉพาะอินเดียและเวียดนาม รวมถึงสถานการณ์โควิด-19 ที่ยังมีความไม่แน่นอนสูงจากเชื้อกลายพันธุ์ จะทำให้ราคาข้าวอาจเคลื่อนไหวได้ในกรอบแคบๆ จากปัญหาเชิงโครงสร้างราคาที่มีความซับซ้อนและส่งผลกดดันราคาข้าวไทยมาอย่างยาวนาน กระทบต่อเนื่องมาถึงในปี 2565 ที่แม้ราคาข้าวอาจกระเตื้องขึ้นได้บ้าง แต่ก็นับว่าราคายังอยู่ในระดับที่ต่ำ ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า การใช้มาตรการดูแลราคาข้าวของภาครัฐเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรในระยะสั้น/เฉพาะหน้า นับว่ายังมีความจำเป็นและยังคงมีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือด้านรายได้แก่เกษตรกร ขณะเดียวกันการนำแนวทางการแก้ปัญหาราคาข้าวระยะกลาง-ยาวมาปรับใช้ควบคู่ไปด้วย นับว่าเป็นเครื่องยนต์ที่มีความสำคัญในการขับเคลื่อนข้าวไทยอย่างแท้จริง โดยเฉพาะการยกระดับในภาคการผลิต ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/978254
ซีพีเอฟ ยืนยันพร้อมรับซื้อข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จากเกษตรกรที่ลงทะเบียนในระบบตรวจสอบย้อนกลับ ตอกย้ำรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกรที่ไม่บุกรุกป่า ไม่เผา 100% ตามราคาที่กระทรวงพาณิชย์กำหนด นายเรวัติ หทัยสัตยพงศ์ รองกรรมการผู้จัดการบริหาร ธุรกิจอาหารสัตว์บก บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือ ซีพีเอฟ เปิดเผยว่า ในขณะนี้ โรงงานอาหารสัตว์ ซีพีเอฟ ยังสามารถรองรับข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในช่วงที่มีผลผลิตออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมาก พร้อมเปิดรับซื้อผลผลิตของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง ตอกย้ำยึดมั่นนโยบายการจัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรอย่างรับผิดชอบ โดยผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับได้ถึงแหล่งปลูกข้าวโพดที่มีเอกสารสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่บุกรุกพื้นที่ป่า และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ตามแนวทาง “ไม่เขา ไม่เผา เราซื้อ” โดย เกษตรกรยังได้ราคารับซื้อที่ประกาศหน้าโรงงานซึ่งเป็นตามกระทรวงพาณิชย์กำหนด และขึ้นอยู่กับคุณภาพของผลผลิต “ขณะนี้ โรงงานอาหารสัตว์ซีพีเอฟ บริษัทยินดีรับผลผลิตข้าวโพดของเกษตรกรอย่างต่อเนื่อง และราคารับซื้อยังอยู่ในระดับที่ดี และรับซื้อผลผลิตที่ผ่านระบบตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งปลูก เพื่อสร้างความมั่นใจว่าเป็นข้าวโพดที่รับซื้อ 100% มาจากแหล่งผลิตที่ไม่ได้บุกรุกพื้นที่ป่าอย่างแน่นอน” นายเรวัติกล่าว ในช่วงการเก็บเกี่ยวผลผลิต ซีพีเอฟ ยังร่วมมือกับ บริษัท กรุงเทพโปรดิ๊วส จำกัด (มหาชน) ผู้จัดหาวัตถุดิบทางการเกษตรให้บริษัท อำนวยความสะดวกเกษตรกรในช่วงการเก็บเกี่ยว โดยเปิดจุดรับซื้อที่ใกล้กับแหล่งปลูกของเกษตรกร เพื่ออำนวยความสะดวกให้เกษตรกรสามารถนำผลผลิตมาจำหน่ายได้สะดวก ลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและได้รับราคาขายที่โปร่งใสและยุติธรรม ขณะเดียวกัน บริษัทฯ กับ กรุงเทพโปรดิ๊วส ยังเดินหน้าส่งเสริมเกษตรกรที่ปลูกบนพื้นที่ถูกต้องตามเอกสารสิทธิ์มีความรู้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การนำเทคโนโลยีหรือเครื่องจักรทันสมัยมาใช้ มีการบริหารจัดการร่วมกัน […]
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมผู้ประกอบการไก่ไข่พันธุ์ ผ่านระบบการประชุมทางไกล โดยมีนายกฤติพิพัฒน์ รัตนนาวินกุลผู้เชี่ยวชาญด้านส่งเสริมและพัฒนาสัตว์ปีก กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์นายสัตวแพทย์อภินันท์ คงนุรัตน์ รักษาการราชการแทน ผอ.สำนักพัฒนาและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ ผู้แทน ผอ.สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์รวมทั้งผู้ประกอบการไก่ไข่พันธุ์ เข้าร่วม การประชุมดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือการจัดสรรโควตาแผนการนำเข้าเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ ไก่ไข่ปู่ย่าพันธุ์ (GP) และไก่ไข่พ่อแม่พันธุ์ (PS) ปี 2565 โดยมีเรื่องพิจารณา 2 ประเด็น คือแนวทางจัดสรรโควตาให้กับผู้ประกอบการ16 บริษัทรายเดิม 5 บริษัทรายใหม่ และแผนการจัดสรรโควตาการนำเข้าเลี้ยงไก่ไข่พันธุ์ ปี 2565 สำหรับสถานการณ์ไก่ไข่ในปี 2564 มีแผนการเลี้ยงปู่ย่าพันธุ์ไข่ไก่ (GP) 3,800 ตัว นำเข้าเลี้ยงแล้ว 1,900 ตัวแผนการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ไก่ไข่ (PS) ปี 2564 จำนวน 440,000 ตัว นำเข้าเลี้ยงแล้ว 376,529 ตัว จำนวนไก่ไข่ยืนกรงปัจจุบัน […]
สภาเกษตรกรฯหนุนใช้นาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์นำร่อง 5 จังหวัด ลดสภาพดินเป็นกรด พร้อมร่วม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง นายเติมศักดิ์ บุญชื่น ประธานคณะทำงานด้านพืชไร่ สภาเกษตรกรแห่งชาติ และประธานสภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมา เปิดเผยว่า สภาเกษตรกรจังหวัดนครราชสีมาได้ลงพื้นที่สำรวจข้อมูลปัญหา ความต้องการ แนวทางการพัฒนาพืชหลักของเกษตรกรในจังหวัด พบว่าเกษตรกรทำเกษตรกรรมโดยใช้ความรู้ดั้งเดิมขาดการศึกษาถึงปัญหาที่แท้จริงที่ส่งผลต่อผลผลิตและเมื่อผลผลิตไม่เป็นไปตามที่คาดหวังก็จะปรับเปลี่ยนโดยการเพิ่มปุ๋ยหรือสารเคมีเพื่อบำรุง ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ขาดการศึกษาถึงสาเหตุและการแก้ไขปัญหาจากต้นเหตุ นั่นคือ ดิน สภาพดินที่มีความเป็นกรดจากการที่ใช้สารเคมีที่มากเกินไป สภาเกษตรกรแห่งชาติ จึงร่วมกับ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดย ศูนย์วิจัยข้าวโพดข้าวฟ่างแห่งชาติ (ไร่สุวรรณ) และมูลนิธิอุษรินทร์ โดย นายศศิศ มนต์เสรีนุสรณ์ สนับสนุน ทำการศึกษาวิจัย และทดลองพื้นที่การเกษตรด้วยนาโนแคลเซียมคาร์บอเนต ชนิดแขวนลอย ในแปลงเกษตรกร 5 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี สระบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา และ นครราชสีมา ผลที่ได้เปอร์เซ็นต์ในไร่ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เกษตรกรเพิ่มขึ้นตั้งแต่ 18 – 28% ภายใต้การทำเกษตรกรรมของเกษตรกรปกติเหมือนเดิมทุกประการ แคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นเทคโนโลยีนาโน ชนิดแขวนลอย เป็นสารที่มีอนุภาคเป็นบวก บดในส่วนที่เป็นโมเลกุลไม่เกิน 0.5 ไมครอน […]