สรุปหัวข้อข่าวด้านการเกษตรที่สำคัญ ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2564
อ่านย้อนหลังทั้งหมด คลิกที่นี่
อ่านย้อนหลังทั้งหมด คลิกที่นี่
“ปุ๋ยเคมีแพง” นักเก็งกำไร ปั่นตลาดล่วงหน้า “ชิคาโก” ผวา “ข้าวโพด ข้าวสาลี ถั่วเหลือง” โลกปีหน้า ขาดแคลน ดันราคาพุ่งเขียวยกแผง แหล่งข่าววงการค้าเกษตร เผยกับ “ฐานเศรษฐกิจ” ว่า รายงานสถานการณ์ตลาดชิคาโก หรือ Chicago Mercantile Exchang (CME) และ Chicago Board of Trade (CBOT) ตลาดชิคาโก รายงานสถานการณ์ตลาดล่วงหน้าเขียวยกแผง ฝนจะเริ่มหมดลงไป ในขณะที่อากาศเริ่มอบอุ่น ท้องฟ้าโปร่งใส ทำให้เกษตรกรกลับลงสู่ไร่นาได้เต็มเวลาอีกครั้งหนึ่ง จะทำให้การเก็บเกี่บวข้าวโพด ถั่วเหลือง รวมทั้งการปลูก winter wheat ก้าวหน้ามากขึ้น ข้าวโพด: สัญญาดีดคัวขึ้น 1.11% ด้วยแรงซื้อเพื่อเก็งกำไรจากคาดการณ์พื้นที่ปลูกในปีหน้า 2022/23 อาจจะลดลงด้วยปู่ยมีราคาแพงขึ้นมากอีกทั้งข่าวการเก็บเกี่ยวข้าวโพดปีนี้ล่าช้ามากทั้งในฝรั่งเศสและยูเครน สร้างความหวังให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนสหรัฐ ด้วยมีข่าวยอดคาดการณ์ขายส่งออกในสัปดาห์ที่แล้วสิ้นสุด ณ วันที่ 14 ต.ค.เพิ่มขึ้น 15% จากสัปดาห์ก่อนหน้าสู่ระดับ 38.4 ล้านบุชเชล (976,218 ตัน ) “เม็กซิโก” […]
กรมปศุสัตว์ เผยภายใต้สถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ที่ยังคงมีความรุนแรงและแพร่กระจายไปทั่วโลก ทำให้ประชาชนทั่วโลกมีการปรับเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตแบบใหม่ New Normal มีการใช้ชีวิตและทำงานอยู่ที่บ้านมากขึ้น (Work From Home) ทำให้สัตว์เลี้ยง เช่น สุนัขและแมวกลายเป็นหนึ่งในตัวเลือกของการใช้ชีวิต เป็นหนึ่งในสมาชิกครอบครัวและเพื่อนแก้เหงาตามไปด้วย ส่งผลให้ธุรกิจเกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงมีการขยายเติบโตเพิ่มขึ้น เนื่องจากกลุ่มคนรักสัตว์เลี้ยงต้องการดูแลสัตว์เลี้ยงของตัวเอง จึงมีความสนใจในอาหารสัตว์เลี้ยงมากขึ้น วันที่ 18 ต.ค.64 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปี 2564 อาหารสำหรับสัตว์เลี้ยงยังคงมีแนวโน้มการส่งออกเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยภาพรวมการส่งออกในช่วง 3 ไตรมาสแรกของปี (มกราคม-กันยายน 2564) มีปริมาณการส่งออกรวม 525,966 ตัน คิดเป็นมูลค่ากว่า 40,533 ล้านบาท ผลิตภัณฑ์ที่มีการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ ผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องสำหรับสัตว์เลี้ยง และอาหารเม็ดสำหรับสัตว์เลี้ยง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ 55 และร้อยละ 41 ตามลำดับ ประเทศคู่ค้าที่นำเข้าหลัก ได้แก่สหรัฐอเมริกา (20%) มาเลเซีย (15%) อินโดนีเซีย (11%) และประเทศอื่นๆ เช่น สหภาพยุโรป ญี่ปุ่น สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นต้น คาดการณ์ว่าในปี 2564 จะมีการส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยง คิดเป็นมูลค่าราว 48,000 ล้านบาท หากปัจจัยเสริมด้านตลาดและราคาต้นทุนวัตถุดิบยังคงเป็นไปในทิศทางที่ดี เนื่องจากประเทศคู่ค้ามีความเชื่อมั่นในสินค้าอาหารสัตว์เลี้ยงที่ผลิตจากประเทศไทย ประกอบกับการเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ในช่วงสถานการณ์การระบาดของโรค COVID-19 ทั่วโลก ส่งผลให้อุตสาหกรรมอาหารสัตว์เลี้ยงของไทยขยายตัว นับเป็นโอกาสอันดีของประเทศไทยในปีนี้ ที่จะก้าวขึ้นเป็นผู้ส่งออกอาหารสัตว์เลี้ยงอันดับ 3 ของโลก รองจากเยอรมนีและสหรัฐอเมริกา สามารถสร้างรายได้ให้ประเทศ สวนทางเศรษฐกิจโลกในช่ววิกฤตการณ์ COVID-19 นี้ ด้านนายโสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์ โดยสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ มีภารกิจหน้าที่ในการกำกับดูแลกระบวนการผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง (Pet food) เพื่อการส่งออก การขึ้นทะเบียนรับรองโรงงานผลิตอาหารสัตว์เพื่อการส่งออก ควบคุมคุณภาพมาตรฐานโรงงานให้มีระบบรับรองการปฏิบัติทางการผลิตที่ดี (GMP) […]
นายสมบูรณ์ วัชรพงษ์พันธ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงไก่เนื้อ เปิดเผยว่า ขณะนี้เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในประเทศ อยู่ในสถานการณ์ลำบาก เนื่องจากวัตถุดิบอาหารสัตว์หลายตัวมีราคาแพงขึ้นมาก อาทิ ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์พุ่งสูงกว่า 11 บาท/กิโลกรัม กากถั่วเหลืองราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 20 บาท ซึ่งเป็นผลมาจากกลไกตลาด ส่งผลให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์รายย่อยต้องแบกรับต้นทุนอาหารที่สูง และส่วนหนึ่งเป็นเพราะรัฐบาลมีมาตรการผลักดันให้พืชเกษตรมีราคาสูง เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรชาวไร่ในประเทศ ขณะที่เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ไม่ได้รับการดูแลใดๆ ต้องแบกรับต้นทุนการเลี้ยงสัตว์ที่สูงขึ้นนี้ด้วยตนเอง อย่างไรก็ตาม ด้วยความทึ่ไก่เป็นสินค้าส่งออกสำคัญของประเทศไทย การส่งออกไก่จึงมีผลต่อความอยู่รอดของอุตสาหกรรมไก่เนื้อไทยทั้งระบบ ดังนั้น มาตรการดูแลอุตสาหกรรมไก่เนื้อที่สมาคมฯ ต้องการให้รัฐใส่ใจ สนับสนุน และจะช่วยดูแลไก่ทั้งระบบได้ นั่นคือ การส่งเสริมการเลี้ยงไก่ไร้คาร์บอน เพื่อลดปัญหาโลกร้อน ซึ่งเป็นทิศทางที่ตลาดหลักของไทยอย่างสหภาพยุโรป (อียู) ให้ความสำคัญ ทั้งนี้ อียูต้องการซื้อสินค้าที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม และไม่ได้มาจากการรุกป่า หากประเทศไทยยังไม่สามารถผลิตไก่ที่ปราศจากการทำลายป่า หรือ ไก่ไร้คาร์บอนได้ อาจถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าตามจำนวนคาร์บอนที่ปล่อย ซึ่งหมายถึงความสามารถในการแข่งขันของไก่ไทยในเวทีโลกจะลดลง และแน่นอนว่าจะกระทบมาถึงไก่เนื้อทั้งอุตสาหกรรม “วัตถุดิบอาหารสัตว์ของไก่ มีส่วนผสมของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เป็นหลัก จึงอยากให้รัฐบาลเน้นมาส่งเสริมการเลี้ยงไก่ด้วยผลผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่ไม่รุกป่า ไม่มีการเผาตอซัง และส่งเสริมข้าวโพดหลังนา ทั้งนี้เพื่อป้องกันการสูญเสียตลาดส่งออก อันจะทำให้เกิดปัญหาตามมาอีกมาก” นายสมบูรณ์กล่าว ที่มา: https://www.matichon.co.th/publicize/news_3003138