×

อันตราย” หมู ลักลอบ” เสี่ยงสารตกค้าง นำโรคเข้าไทย ซ้ำเติมเกษตรกร

Please enter correct URL of your document.

เกษตรกรเลี้ยงหมู จี้รัฐ กวาดล้าง ‘ขบวนการลักลอบนำเข้าหมู’ หลังพบเกลื่อน อีสาน-เหนือ สำแดงเท็จเป็นอาหารทะเล หวั่นนำโรคเข้าไทย ซ้ำเติมวิกฤติ คนเลี้ยงหมู

นายสุนทราภรณ์ สิงห์รีวงศ์ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคเหนือ เปิดเผยว่า ขณะนี้ยังคงมี “ขบวนการนำเข้าเนื้อหมู” กระจายในทุกพื้นที่ของประเทศ โดยเฉพาะแถบภาคเหนือ ภาคอีสาน ในจังหวัดติดต่อกับชายแดนประเทศเพื่อนบ้าน

คนกลุ่มนี้กำลังแสวงหาผลประโยชน์ บนความทุกข์ของเกษตรกรไทย โดยไม่คิดถึงผลกระทบที่จะตามมา เพราะเนื้อหมูและชิ้นส่วนผิดกฎหมายที่นำเข้ามาจากหลายประเทศ ทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา เยอรมัน บราซิล อิตาลี เบลเยียม และเกาหลี ที่สำแดงเท็จว่าเป็นสินค้าประเภทอาหารทะเล หรือวัตถุดิบผลิตอาหารสัตว์เลี้ยง ทั้งๆที่เนื้อหมูลักลอบนี้ไม่ผ่านขั้นตอนการตรวจสอบโรคสัตว์ ตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ของกรมปศุสัตว์

ซ้ำยังไม่มีเอกสารใบอนุญาตนำเข้า และหลักฐานแสดงที่มาของแหล่งกำเนิด ซึ่งหากซากสัตว์เป็นโรคระบาด หรือพาหะของโรคระบาด ย่อมมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคระบาดสัตว์ เป็นการซ้ำเติมวิกฤตที่เกษตรกรกำลังประสบอยู่

ที่สำคัญจากหลายประเทศอนุญาตให้มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในกระบวนการเลี้ยงสัตว์ได้ ในขณะที่ประเทศไทยไม่อนุญาตให้มีการใช้สารเร่งเนื้อแดงในกระบวนการเลี้ยงสัตว์อย่างเด็ดขาด มาตั้งแต่พ.ศ.2545 ตามประกาศของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และปี พ.ศ.2546 ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข หมูลับลอบที่นำมาจำหน่ายปะปนกับหมูไทยทั่วประเทศ นอกจากจะผิดกฎหมายแล้ว ยังถือเป็นการบ่อนทำลายความปลอดภัยทางอาหารของประชาชนไทยอย่างร้ายกาจ

“ปัญหา ASF ในหมู ที่พบเมื่อปลายปี 2564 และยังคงพบในบางพื้นที่ของประเทศ ทำให้เกษตรกรต้องปรับวิธีการเลี้ยงและการจัดการป้องกันโรคอย่างเข้มงวดขึ้นกว่าเดิม เพื่อไม่ให้โรคนี้เข้ามาทำอันตรายกับหมูในฟาร์มได้ แต่ขบวนการลักลอบนำเนื้อสุกรและชิ้นส่วนผิดกฎหมาย กำลังบ่อนทำลายระบบการป้องกันโรคของไทย เป็นคลื่นใต้น้ำนำพาทั้งโรคหมูและสารอันตรายเข้ามาทำลายทั้งเกษตรกรไทยจากความเสี่ยงต่อโรคระบาด และการถูกบิดเบือนตลาดจากปริมาณหมูที่นำเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย”   

 ขณะเดียวกันคนไทยยังต้องตายผ่อนส่งจากสารอันตรายที่แฝงมากับเนื้อหมูเถื่อน ทำให้รัฐต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลอาการเจ็บป่วยจากการได้รับสารดังกล่าว และยังมีความเสียหายจากการไม่เสียภาษีตามระบบทำให้ภาครัฐต้องสูญเสียรายได้ ถือเป็นผลกระทบทางเศรษฐกิจอันใหญ่หลวง

กษตรกรขอเรียกร้องให้ภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง เร่งตรวจตราและกวาดล้างขบวนการนี้ไม่ให้มีการลักลอบนำเข้าเนื้อหมูมาทำลายคนไทยเด็ดขาด

เกษตรกรขอยืนหยัดคัดค้านการนำเข้าเนื้อหมูจากต่างประเทศ และขอให้กลไกตลาดเป็นแนวทางในการปรับสมดุลราคาสินค้า ดังที่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหามาโดยตลอด เพื่อให้เกษตรกรยังสามารถบริหารจัดการการผลิตและการตลาดสำหรับผู้บริโภคได้อย่างเหมาะสม ไม่ถูกบิดเบือนกลไกราคา

และยังเป็นแรงจูงใจสำคัญสำหรับพี่น้องเกษตรกรผู้เลี้ยงที่กำลังตัดสินใจกลับเข้าสู่ระบบ หลังจากต้องตัดสินใจหยุดพักการเลี้ยงไปเพื่อรอดูสถานการณ์การผลิตและโรคในสุกรให้คลี่คลายก่อนกลับมาเลี้ยงหมู ที่จะช่วยเพิ่มซัพพลายหมูในอุตสาหกรรมให้เพียงพอกับการบริโภคอย่างยั่งยืน

นายสิทธิพันธ์ ธนาเกียรติภิญโญ นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ กล่าวว่า ขบวนการลักลอบนำเข้าหมูจากประเทศเพื่อนบ้านในหลายจังหวัด โดยเฉพาะแถบภาคอีสาน เพื่อนำมาขายปะปนกับหมูไทย จากกลุ่มไอ้โม่งที่ทำมาหาทำกินบนความทุกข์ของคนเลี้ยงหมูและคนไทย ทำให้ประชาชนต้องเสี่ยงกับการได้รับสารเร่งเนื้อแดงและสารปนเปื้อนอื่นๆในเนื้อหมูลักลอบที่ไม่รู้แหล่งที่มา ไม่ผ่านกระบวนการตรวจสอบโรคตามข้อกำหนดและผิดกฎหมายไทย

ขณะเดียวกัน ยังเสี่ยงกับโรคหมูที่จะติดมากับผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะสร้างความเสียหายและซ้ำเติมวิกฤติในอุตสาหกรรมการเลี้ยงหมูไทยอย่างมาก ที่สำคัญรัฐต้องสูญเสียรายได้จากสินค้าที่ไม่ได้เสียภาษีตามระบบ หมูผิดกฎหมายนี้จึงสร้างกระทบกับเศรษฐกิจของไทยอย่างที่ไม่สามารถประเมินมูลค่าได้ เพราะทำให้คนไทยตายผ่อนส่ง คนเลี้ยงหมูตายสนิท และเศรษฐกิจไทยย่ำแย่ เกษตรกรขอเรียกร้องให้ภาครัฐเข้มงวดกวดขันและเร่งกวาดล้างขบวนการนี้โดยเร็วที่สุด รวมถึงคนเลี้ยงหมู ผู้บริโภค และประชาชน ที่ทราบเบาะแสช่วยกันชี้เป้าแก่เจ้าหน้าที่รัฐเพื่อเร่งจับกุมเอาผิดต่อไป

“วันนี้การบริหารจัดการด้านการป้องกันโรค ASF ในหมู กำลังดำเนินการไปด้วยดี สมาคมผู้เลี้ยงหมูทุกภูมิภาค ทุกจังหวัดต่างระดมความร่วมมือกับกรมปศุสัตว์ และผู้เชี่ยวชาญ คณาจารย์ และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ในการให้ข้อมูลและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับการป้องกันโรคตามมาตรฐานแก่เกษตรกรรายย่อยทั่วประเทศ เพื่อให้กลับมาเลี้ยงหมูรอบใหม่ได้อย่างมั่นใจ ปลอดภัย และปลอดโรค สถานการณ์ต่างๆกำลังเดินหน้าไปในทางที่ดี

แต่กลับมีขบวนการบ่อนทำลายชาติ ด้วยการนำเข้าหมูจากประเทศเพื่อนบ้าน รวมถึงจากประเทศแถบยุโรปเข้ามาเป็นระยะ เพื่อหวังเพียงผลกำไรของตนเอง โดยไม่นึกถึงความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นกับคนไทย ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้งกรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ เจ้าหน้าที่ในด่านชายแดนไทย และฝ่ายปกครอง เร่งสกัดกั้นและปราบปรามขบวนการนี้ให้สิ้นซากโดยเร็ว” นายสิทธิพันธ์ กล่าว

นายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกรภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ข้อมูลอีกว่า ที่ผ่านมาสมาคมผู้เลี้ยงสุกรทุกภูมิภาค ต่างพยายามป้องกันโรค ASF และพยายามผลักดันให้ผู้เลี้ยงหมูรายย่อยกลับมาเลี้ยงหมูรอบใหม่ให้เร็วที่สุด โดยในภาคอีสานที่สมาคมฯ ได้เดินหน้าจัดสัมมนาสัญจรในหัวข้อ “หลังเว้นวรรค…จะกลับมาอย่างไรให้ปลอดภัย?”  โดยผู้เชี่ยวชาญ นักวิชาการ และสัตวแพทย์ของบริษัทเอกชน นำความรู้และเทคนิคการป้องกันโรคมาถ่ายทอดสู่เกษตรกรผู้เลี้ยงรายย่อย ที่ดำเนินการแล้วในหลายจังหวัด อาทิ ร้อยเอ็ด สุรินทร์ ศรีสะเกษ นครราชสีมา ชัยภูมิ เพื่อปูพื้นฐานที่เข้มแข็งให้กับเกษตรกรรายย่อยที่พร้อมกลับเข้ามาในระบบอีกครั้งได้อย่างมั่นใจ และช่วยเพิ่มซัพพลายหมูในประเทศอย่างรวดเร็ว

ที่มา: https://www.bangkokbiznews.com/business/1005314

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่3: ฉบับที่14: เดือน ธันวาคม 2567 – มกราคม 2568

ไฮไลท์หัวข้อ ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านวัตถุดิบยั่งยืน กิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานในเครือข่าย ประเด็นติดตามที่สำคัญ ข่าวประชาสัมพันธ์ 141

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่13: เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567

ไฮไลท์หัวข้อการพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ประเด็นที่ต้องติดตาม 339

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 318

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon