×

ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ เสริมแกร่ง “นาแปลงใหญ่” ผลิตข้าวเพื่อสุขภาพ

Please enter correct URL of your document.

“กลุ่มนาแปลงใหญ่”อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน เริ่มจดทะเบียนเป็น “กลุ่มนาแปลงใหญ่” โดยได้รับการส่งเสริมจาก ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ ใน ปี 2559 ปัจจุบัน มีสมาชิก 122 ราย พื้นที่ 1,200 ไร่ ความเข้มแข็งจากการรวมกลุ่มทำให้ได้รับการพัฒนาต่อยอดด้านการผลิตและการตลาด เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตโดยมุ่งเน้นให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาด นำไปสู่การพัฒนาผลิตข้าวเพื่อสุขภาพครบวงจรที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน GAP Grain จากกรมการข้าว ทำให้สมาชิกมีรายได้เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืน

นายขจร โนวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ กล่าวว่า สำหรับโครงการระบบส่งเสริม”เกษตรแปลงใหญ่” กรมการข้าว โดยศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่ มีภารกิจในการดำเนินการส่งเสริมเกษตรกรที่ทำนาแปลงใหญ่ในพื้นที่จังหวัดลำพูนและส่งเสริมให้กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวในจังหวัดลำพูน เข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ ตั้งแต่ปี 2559 จนถึง ปี 2564 ในพื้นที่ 3 อำเภอ ได้แก่ อำเภอป่าซาง อำเภอบ้านธิ และอำเภอเมือง

มีกลุ่มเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการ จำนวน 4 กลุ่ม พื้นที่รวม 5,627 ไร่ และในปี 2565 นี้เรากำลังจะไปส่งเสริมกลุ่มใหม่ที่ ตำบลนาทราย อำเภอลี้ พื้นที่ 653 ไร่ ในส่วนของหลักการของโครงการส่งเสริมการเกษตรแบบแปลงใหญ่ ของพื้นที่การทำนา หรือที่เราเรียกสั้นๆ กันว่า นาแปลงใหญ่ นั้นก็คือ การส่งเสริมเกษตรกรให้รวมกลุ่มกันเพื่อผลิต ทำให้มีอำนาจในการต่อรอง และสามารถลดต้นทุนในการผลิตได้ โดยที่เราไม่ได้รวมแปลงของเกษตรกรเข้าด้วยกัน เพียงแต่เป็นการรวมกลุ่มกันเท่านั้น

มีเจ้าหน้าที่เข้าไปส่งเสริมเกษตรกรในการถ่ายทอดองค์ความรู้ เทคโนโลยี ทั้งในด้านของการลดต้นทุนการผลิต การเพิ่มปริมาณผลผลิต การเพิ่มคุณภาพข้าว การบริหารจัดการกลุ่มให้เข้มแข็งและการวางแผนการตลาดของกลุ่ม รวมถึงการพัฒนาให้เป็นจุดเรียนรู้และการบริหารจัดการอย่างครบวงจร
“กลุ่มนาแปลงใหญ่” อำเภอป่าซางนั้น เป็นกลุ่มที่ประสบความสำเร็จมากในด้านการผลิตข้าวคุณภาพโดยเฉพาะข้าวพันธุ์ กข 43 ซึ่งเป็นข้าวเพื่อสุขภาพที่มีดัชนีน้ำตาลต่ำกว่าข้าวทั่วไป เหมาะสำหรับผู้บริโภคที่ต้องการรักษาสุขภาพ ผู้ที่ต้องการควบคุมน้ำตาล และข้าวไรซ์เบอร์รี่ที่มีคุณค่าทางอาหารสูง ซึ่งผู้บริโภคที่รักสุขภาพในปัจจุบันนิยมเป็นอย่างยิ่ง
นอกจากนี้ยังมีการเชื่อมโยงตลาดกับเอกชน อาทิ บริษัท ยิบอินซอยและแย็ค จำกัด และ บริษัท ใบไม้ฟาร์ม เข้ามาร่วมวางแผนการตลาด และส่งข้าวคุณภาพของกลุ่มสู่ตลาดต่างประเทศ จนตอนนี้กลุ่มมีออเดอร์การผลิตข้าวคุณภาพมากกว่า 2,000 ตันข้าวสารต่อปีซึ่งเป็นมูลค่ามากกว่า 120 ล้านบาท
ด้านนายสุพจน์ ป้อมชัย ประธาน”กลุ่มนาแปลงใหญ่”อำเภอป่าซาง กล่าวว่า เรื่องของข้าวที่ราคาตกต่ำ เมื่อปี 2559 ตอนนั้นข้าวราคาตกต่ำมากเกษตรกรขาดอำนาจในการต่อรองราคากับพ่อค้าและโรงสี เป็นจุดเริ่มต้นของการคิดรวมกลุ่มกัน หลังจากรวมกลุ่ม กลุ่มนาแปลงใหญ่อำเภอป่าซางก็ได้รับองค์ความรู้จากศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเชียงใหม่และเริ่มพัฒนายกระดับกลุ่มสู่การเป็นผู้ผลิตข้าวเพื่อสุขภาพ
แต่หลักสำคัญที่สุดคือที่ตัวเกษตรกร กลุ่มฯจะมุ่งเน้นเกษตรกรที่มีความคิดแนวทางเดียวกัน มีวัตถุประสงค์ร่วมกัน มองว่าตลาดข้าวทั่วไป เราไม่สามารถที่จะสร้างความเข้มแข็งให้กับเกษตรกรได้เราจึงต้องยกฐานะของเกษตรกรให้มีความคิดไปในแนวทางเดียวกันเพื่อที่จะยกระดับตลาดข้าวขึ้นมา ในระดับตลาดข้าวพรีเมี่ยม

ปัจจุบันผลการดำเนินงานของกลุ่มด้านการลดต้นทุน เดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ ต้นทุนการผลิตอยู่ที่6,000 กว่าบาท/ไร่ ผลผลติข้าวเฉลี่ยอยู่ที่ 700-800 กิโลกรัม/ไร่ แต่หลังจากที่เข้าร่วมโครงการมารวมกลุ่มกันแล้ว มีการวางแผนการผลิต และบริหารจัดการกลุ่ม

วันนี้สมาชิกกลุ่มฯสามารถลดต้นทุนการผลิตอยู่ที่5,000 กว่าบาท/ไร่ สามารถที่จะเพิ่มผลผลิตข้าว ขึ้นมาเป็น 1,000 ถึง 1,250 กิโลกรัม/ไร่ ทั้งนี้กลุ่มยังมีออเดอร์จากตลาดต่างประเทศ กว่า 2,000 ตัน จากตัวเลขผลผลิตที่เพิ่มขึ้น รายได้ที่เพิ่มขึ้น ต้นทุนการผลิตที่ลดลงน่าจะพอเป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความแข็งแกร่งของการกลุ่มของนาแปลงใหญ่อำเภอป่าซาง ได้เป็นอย่างดี

ที่มา: https://www.komchadluek.net/news/487226

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 9

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2:   ฉบับที่ 11 ประจำเดือน มิถุนายน-กฤกฎาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ข่าวประชาสัมพันธ์ 207

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่ 2 : ฉบับที่ 10 ประจำเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย ข่าวประชาสัมพันธ์ 320

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon