×

นายกสมาคมประมงสตูล เผยผู้ประกอบการปิดตัวลงกว่า 40% แล้ว อัดรัฐเมินแก้ปัญหา

Please enter correct URL of your document.

เมื่อวันที่ 27 ตุลาคม ที่สำนักงานสมาคมประมงจังหวัดสตูล หมู่ที่ 3 ตำบลกำแพง อำเภอละงู จังหวัดสตูล นายสมเกียรติ เลียงประสิทธิ์ นายกสมาคมประมงสตูล เปิดเผยว่า หลังจากที่ IUU ได้เข้ามาควบคุมการทำประมงที่ไม่ถูกต้อง รัฐบาลได้ออก พ.ร.ก.58 เข้ามาควบคุมชาวประมง ซึ่งการออกพ.ร.ก.58 ออกมาค่อนข้างที่จะผิดวิสัยการทำมาหากินอยู่ ณ เวลานี้ การออกกฎข้อห้ามทำให้ชาวประมงไม่สามารถที่จะทำตามข้อบังคับเหล่านั้นได้ แต่ชาวประมงก็พยายามทำ

“ช่วงระหว่างประกอบการในปี 2558 ถึงปี 2564 นี้ชาวประมงได้พยายามร้องขอให้มีการแก้ไข พ.ร.ก.58 ในหลายเรื่องหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นโทษปรับหรือ โทษการกระทำผิดทางอาญากลับไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐบาลเลยในปัจจุบัน ได้มีการร้องขอไปเป็น 10 ฉบับ 20 ฉบับแล้ว ทุกวันนี้ชาวประมงเหมือนรอวันตายไปวันๆเท่านั้นเอง”

“สถานการณ์ของชาวประมงภาพรวมในขณะนี้ถือว่าแย่อยู่แล้ว โดยเฉพาะในช่วงนี้มรสุมที่ผ่านมาแทบจะไม่ได้ออกไปทำการประมงเลยนอนกินข้าวสารอยู่หน้าแพอย่างเดียว จะเห็นได้ว่าทุกอาชีพการประมงแทบจะขาดทุนโดยตลอด แม้ทุกวันนี้ก็ยังจอดอยู่ออกไม่ได้ ในเวลานี้ชาวประมงจังหวัดสตูลหยุดออกประกอบการไปแล้วร้อยละ 40 เหลืออีก 60% ก็รอวันตายขณะนี้เท่ากับทรงและทรุดอย่างเดียวไม่มีอะไรก้าวหน้าโดยเฉพาะการถอนเงินคืน”

“ชาวประมงในขณะนี้แม้เรือจะมีท่าจอดเท่ากับเจ๊ง หากออกเรือเท่ากับมีสิทธิ์ได้รอด มีทางเดียวก็ต้องสู้จนหมดสายป่านแล้วถึงหยุดอัตโนมัติ”

นายสมเกียรติ กล่าวต่อว่า ในมุมมองมองว่ารัฐบาลเอง ควรจะมีการแก้ไขใน พ.ร.ก.ปี 2558 บ้าง ในข้อกฎหมายที่มีความเข้มงวดเรื่องความรุนแรง ทางผู้ประกอบการเองได้มีการทำหนังสือในนามสมาคมประมง ทั้งสมาคมการประมงแห่งประเทศไทย และ 22 สมาคม ได้ทำหนังสือร้องขอไปทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ตั้งแต่ปี 2559 จนถึง 2564 หลายร้อยฉบับแต่ไม่ได้รับการตอบรับเลย ไม่มีการแก้ไขมิหนำซ้ำยัง เพิ่มมาตรการต่างๆซึ่งให้เราต้องปฏิบัติในสิ่งที่ยุ่งยากมากกว่าเดิมเข้ามาอีก ตอนนี้ตายอยู่แล้วก็ยิ่งตายเพิ่มเข้าไปอีก

ทั้งยังระบุว่า มีหลายข้อที่คิดว่าทางรัฐบาลต้องแก้ปัญหาเป็นการเร่งด่วน ก่อนว่า

อันดับ 1 คือเรื่องแรงงาน เราไม่สามารถที่จะนำแรงงานต่างด้าว เข้ามาใช้ได้เราต้องยอมรับอย่างหนึ่งว่าเรือประมงไม่สามารถเอาแรงงานอื่นเข้ามาทดแทนได้ นอกจากแรงงานคนเท่านั้น ในช่วงสถานการณ์โควิดเข้ามา เราไม่สามารถที่จะนำแรงงานเข้ามาได้ โดยรัฐบาลเองน่าจะเปิดม.83 ให้เราแต่ขณะนี้ก็ยังไม่เปิดให้นี่เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่เป็นปัญหารุนแรง

อันดับที่ 2 ปัญหารุนแรงเรื่องผู้กระทำความผิดตามพ.ร.ก. 58 ในกฎหมายบางมาตรามีโทษหนักปรับสูง บางฉบับมีในเรื่องกฎหมายทางอาญา เช่นหากเรามีเรือ 5 ลำ ลำนึงไปดำเนินการผิดตามกฎหมาย อีก 4 ลำ ก็จะโดนแบล็กลิสต์ ทำผิดตามกฎหมายไปด้วย แบบนี้เราถือว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม แต่เมื่อกฎหมายระบุเราก็พยายาม การออกทะเลเราต้องใช้ไต๋เรือ หากไปเรือคนดังกล่าวทำผิดกฎหมายอีก 4 ลำที่เราทำถูกต้องตามกฎหมายเราก็ต้องเจ๊งไปโดยอัตโนมัติ

สุดท้ายอยากจะฝากถึงรัฐบาลว่าหากให้ชีวิตชาวประมงอยู่ได้เพื่อจะเป็นคลังผลิตอาหาร ให้คนในประเทศและชาวโลก ก็ควรจะแก้กฎหมายให้ชาวประมงด้วยนิดนึงเพราะตอนนี้ชาวประมงจะตายกันหมดแล้ว หากเป็นเช่นนี้ต่อไปไม่เกิน 3 ปี ชีวิตชาวประมงต้องล่มสลายเข้ากับชีวิตการประมงจบสิ้นลง ต่อไปลูกหลานของเราจะเอาปลาที่ไหนมากิน จะเอาสินค้าไหนส่งออกต่างประเทศ

ที่มา: https://news.trueid.net/detail/q6BggPqYWmQ4

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวสำนักงานปศุสัตว์ยั่งยืน  ฉบับที่ 11 ประจำเดือน มิถุนายน-กฤกฎาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ข่าวประชาสัมพันธ์ 168

จดหมายข่าวสำนักงานปศุสัตว์ยั่งยืน  ฉบับที่ 10 ประจำเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย ข่าวประชาสัมพันธ์ 300

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่9: เดือนกุมภาพันธ์ – มีนาคม 2567

🔥 ไฮไลท์หัวข้อ♦️ความคืบหน้ากิจกรรมความร่วมมือ (คณะทำงานTSFR,ภาคีปศุสัตว์และสัตว์น้ำไทย และภาคีข้าวคาร์บอนต่ำไทย)♦️ความร่วมมือกับ USSEC♦️กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง 525

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon