×

จุรินทร์ ใช้วิน-วินโมเดล ดูแลราคาสินค้า ยอมรับมีบางตัวปรับขึ้น

Please enter correct URL of your document.

“จุรินทร์” ยันติดตามสถานการณ์สินค้าอย่างต่อเนื่อง รับบางรายการสูงขึ้นจากต้นทุนน้ำมัน ส่วนปาล์มน้ำมันขึ้น ผลจากปาล์มสูงขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 11-12 บาท แต่ได้ตรึงน้ำมันปาล์มขวดไว้ 66.50 บาท พร้อมนัดประชุมร่วมทุกฝ่าย ใช้วิน-วินโมเดล ดูแลราคาไม่ให้ผู้บริโภคเดือดร้อน

วันที่ 10 พฤษภาคม 2565 นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยสถานการณ์ราคาสินค้า ว่ากระทรวงพาณิชย์ได้ติดตามอยู่ตลอด และต้องยอมรับความจริงว่าราคาสินค้าที่มีการปรับตัวสูงขึ้นบางรายการ เป็นผลมาจากราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก ซึ่งมีผลกับต้นทุนการผลิต และราคาค่าขนส่ง โดยเฉพาะสินค้าที่อยู่ไกล ต้องรับภาระเพิ่มขึ้น เพราะค่าขนส่งแพงขึ้น

แต่กระทรวงพาณิชย์พยายามกำกับดูแลให้ดีที่สุด โดยดูจากต้นทุนเป็นหลัก สำหรับราคาหน้าโรงงาน กำกับราคาไว้ให้เป็นภาระกับผู้บริโภคน้อยที่สุด แต่ก็ไม่ให้กระทบต่อเกษตรกรที่ได้ราคาพืชผลเกษตรดีมาก เพราะขณะนี้พืชเกษตรราคาดีทุกตัวไม่ว่าจะเป็นยางพารา ปาล์มน้ำมัน ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลังหรือแม้แต่ข้าว ก็ราคาดีขึ้น เพราะปีนี้การส่งออกข้าวจะเพิ่มกว่าปีที่แล้ว ปีที่แล้วส่งออกข้าวได้ 6.1 ล้านตัน ปีนี้คาดว่าส่งออกได้ 7-8 ล้านตัน เชื่อว่าช่วยให้ราคาข้าวดีขึ้น

ทั้งนี้ สำหรับน้ำมันปาล์มที่ตอนนี้ผู้บริโภคเดือดร้อน เป็นเพราะราคาผลปาล์มดีมาก ขึ้นไปถึงกิโลกรัม (กก.) ละ 11-12 บาท ทำให้ต้นทุนการผลิตน้ำมันปาล์มขวดเพิ่มสูงขึ้น แต่กระทรวงพาณิชย์พยายามที่จะจับมือกับผู้ผลิตน้ำมันปาล์มขวดในการแก้ปัญหา และมีการกำกับราคาที่ไม่ให้สูงเกินกว่าราคาโครงสร้าง ซึ่งความจริงต้องตกประมาณขวดละ 76.50 บาท แต่พยายามกำกับราคาและปรับลดลงมาเหลือ 66.50 บาท

“เรื่องปาล์ม การตรึงราคา จะพยายามทำให้ได้นานที่สุด และจะมีการหารือร่วมกันระหว่างเกษตรกร ตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน ซึ่งต้องการให้ราคาดีที่สุด แต่โรงงานต้องซื้อปาล์มราคาแพงขึ้น และทำให้ราคาน้ำมันปาล์มดิบ (CPO) ไป 60 กว่าบาทต่อกก. แล้ว ส่งผลให้น้ำมันปาล์มขวดสูงขึ้น แต่เราพยายามกดราคาลงมาประมาณ 10 บาทต่อขวด

โดยทุกฝ่ายจะประชุมร่วมกัน ตอนนี้ตั้งหลักว่า จะช่วยดู 2 ส่วน คือ 1.ราคาให้เดือดร้อนผู้บริโภคน้อยที่สุด เกษตรกรชาวสวนปาล์มได้ราคาดีที่สุด 2.เรื่องปริมาณไม่ให้ขาดแคลน และจะมีการหารือกันว่าปริมาณสต๊อกควรอยู่ที่เท่าไร ไม่เช่นนั้น นอกจากจะเจอเรื่องราคาแล้ว จะเจอเรื่องปริมาณเป็นปัญหาซ้ำสอง เราจะป้องกันดูแลทั้ง 2 ข้อ จะมีการประชุมทุกฝ่ายและหาข้อสรุปร่วมกัน ถ้ามีความจำเป็นต้องเข้า ครม. ก็จะเข้า โดยจะทำให้เร็วและใช้วิน-วินโมเดล เข้ามาดูแลทุกฝ่ายให้ดีที่สุด”

ส่วนสถานการณ์สินค้าอื่น ๆ พบว่ามีหลายตัวที่ราคาลดลงกว่าปีที่แล้ว โดยผักสด เช่น ถั่วฝักยาว ราคาเฉลี่ย 55.50 บาทต่อกก. ปีที่แล้วเวลาเดียว 62.78 บาทต่อกก. ผักกาดขาวปลี กก.ละ 31.50 บาท ปีที่แล้ว 32.50 บาทต่อกก. ต้นหอมปัจจุบัน กก.ละ 65 บาท ปีที่แล้วราคา 68.50 บาทต่อกก. ผักชีประมาณ กก.ละ 94 บาท ปีที่แล้ว 107.80 บาทต่อกก. ปลา

เช่น ปลาดุกเฉลี่ย กก.ละ 74.80 บาท ปีที่แล้ว 85 บาทต่อกก. ซึ่งมีหลายตัวที่ราคาลดลง  รวมทั้งราคาชุดนักเรียน อุปกรณ์การเรียน ปีนี้ได้มีการจัด “พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน Lot 17 Back To School” ลดสูงสุด 65% ส่วนที่เหลือก็จะตรึงราคาไว้

ที่มา: https://www.prachachat.net/economy/news-927742

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 124

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2:   ฉบับที่ 11 ประจำเดือน มิถุนายน-กฤกฎาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานอื่น ข่าวประชาสัมพันธ์ 276

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่ 2 : ฉบับที่ 10 ประจำเดือน เมษายน-พฤษภาคม 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย ข่าวประชาสัมพันธ์ 386

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon