×

หมูแพงแก้อย่างไร?

Please enter correct URL of your document.

รัชดา-รองโฆษกรัฐบาล สรุป 9 มาตรการแก้หมูแพง ห้ามส่งออก 3 เดือน 1 ล้านตัว ลดต้นทุน-เพิ่มปริมาณการเลี้ยงหมู ประยุทธ์ เร่งแก้ค่าครองชีพ

วันที่ 6 มกราคม 2565 น.ส.รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยถึงแนวทางการแก้ปัญหาเนื้อหมูราคาแพง สืบเนื่องจากปริมาณสุกรที่ลดลง ต้นทุนการเลี้ยงสุกรปรับสูงขึ้น ส่งผลให้เนื้อหมูปัจจุบันมีราคาสูงมาก กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ รวมถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้หารือร่วมกัน และได้ข้อสรุปดังนี้

มาตรการเร่งด่วน ได้แก่
1.การห้ามส่งออกหมูมีชีวิตเป็นเวลา 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 6 ม.ค.65 ถึง วันที่ 5 เม.ย. 65 เพื่อเพิ่มปริมาณเนื้อหมูภายในประเทศ และกระทรวงพาณิชย์จะพิจารณาตามสถานการณ์ว่าควรให้มีการต่ออายุหรือไม่ โดยจะมีการติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด ตัวเลขเบื้องต้นในปี 2564 มีการเลี้ยงหมูป้อนเข้าสู่ตลาด ประมาณ 19 ล้านตัว บริโภคในประเทศ 18 ล้านตัว ส่งออกไปต่างประเทศประมาณ 1 ล้านตัว

2.การช่วยเหลือด้านราคาอาหารสัตว์ โดยเฉพาะส่วนที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ เช่น การงดเว้นการเก็บค่าธรรมเนียมหรือภาษี การจัดสินเชื่อพิเศษของ ธ.ก.ส. เพื่อให้เกษตรกรที่สามารถปฏิบัติตามหลักเกณฑ์เงื่อนไขได้กลับมาเลี้ยงใหม่ในพื้นที่ความเสี่ยงต่อโรคระบาดต่ำ การตรึงราคาจำหน่ายที่เหมาะสมและสอดคล้องกับต้นทุนที่เกิดขึ้น

3.การเร่งสำรวจภาพรวมสถานการณ์การผลิตสุกร เพื่อกำหนดพื้นที่เป้าหมายและมาตรการที่เหมาะสม พร้อมเพิ่มกำลังการผลิตแม่สุกรทดแทน โดยให้เกษตรกรใช้สุกรขุนตัวเมียมาใช้ทำพันธุ์ชั่วคราว เร่งรัดเจรจาฟาร์มรายใหญ่ในการกระจายพันธุ์และลูกสุกรขุนให้กับรายย่อยและเล็กที่ต้องการกลับเข้ามาสู่ระบบใหม่ กำหนดโซนเลี้ยงและออกมาตรการบังคับใช้อย่างเหมาะสมเพื่อควบคุมโรค และเร่งรัดการวิจัยพัฒนาวัคซีนป้องกันโรค

มาตรการระยะสั้น ได้แก่
1.การส่งเสริมการผลิตข้าวโพดเลี้ยงสัตว์เพื่อทดแทนการนำเข้าจากต่างประเทศ
2.การขยายกำลังผลิตแม่สุกร สนับสนุนศูนย์วิจัยและบำรุงสัตว์ ในสังกัดกรมปศุสัตว์และเครือข่ายคู่ขนานกับฟาร์มเกษตรกรและภาคเอกชน
3.เร่งเดินหน้าการศึกษาวิจัยยาและสารกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อลดความสูญเสียจากโรคระบาด

มาตรการระยะยาว
1.กระทรวงเกษตรฯจะผลักดันการยกระดับมาตรฐานฟาร์มของเกษตรกรเพื่อป้องกันโรคระบาด
2.ส่งเสริมให้ปรับปรุงเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) มีค่าใช้จ่ายต่ำกว่ามาตรฐานฟาร์ม GAP ซึ่งจะเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรกลับมาเลี้ยงสุกรใหม่และเพิ่มปริมาณการผลิตหมูให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภค
3.การสนับสนุนการเลี้ยงโดยจะมีสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กู้ยืมจาก ธ.ก.ส. ในโครงการสานฝันสร้างอาชีพ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ เร่งขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรรายย่อยเพื่อช่วยเหลือให้เข้าถึงแหล่งสินเชื่อได้ง่ายและสะดวกรวดเร็ว รวมทั้งการรวมกลุ่ม สนับสนุน และหาตลาดในราคาที่เกษตรกรอยู่ได้อย่างดี

น.ส.รัชดากล่าวว่า นายกรัฐมนตรีมีความเป็นห่วงต่อสถานการณ์ราคาเนื้อหมูภายในประเทศ และได้ติดตามการแก้ไขปัญหาที่ต้องทำให้ครบตั้งแต่ต้นน้ำจนปลายน้ำ ซึ่งมาตรการทั้งสามระยะทีได้ข้อสรุปมานี้ เชื่อมั่นว่าจะทำให้ราคาเนื้อหมูกลับมาสู่ภาวะปกติได้อย่างแน่นอน ทั้งเพื่อการลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชน และระยะยาว เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทุกขนาด ให้กลับมาประกอบอาชีพ สามารถสร้างงาน สร้างรายได้ในครัวเรือน และสร้างความมั่นคงด้านอาหารให้กับประเทศ

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่3: ฉบับที่15: เดือน กุมภาพันธ์ – มีนาคม 2568

ไฮไลท์หัวข้อ ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านวัตถุดิบยั่งยืน กิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานในเครือข่าย ประเด็นติดตามที่สำคัญ ข่าวประชาสัมพันธ์ 61

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่3: ฉบับที่14: เดือน ธันวาคม 2567 – มกราคม 2568

ไฮไลท์หัวข้อ ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านวัตถุดิบยั่งยืน กิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานในเครือข่าย ประเด็นติดตามที่สำคัญ ข่าวประชาสัมพันธ์ 257

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่13: เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567

ไฮไลท์หัวข้อการพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ประเด็นที่ต้องติดตาม 403

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon