×

“พ่อค้าพืชไร่” ข้อต่อสำคัญ ยกมาตรฐาน GAP ข้าวโพดไทย

Please enter correct URL of your document.

ในช่วงนี้ปริมาณข้าวโพดทั้งหมดของประเทศไทยอยู่ในสต๊อกของพ่อค้าพืชไร่ ดังนั้น ไม่ว่าข้าวโพดจะมีราคาสูงขึ้นเท่าไหร่ในช่วงนี้ ผลประโยชน์ทั้งหมดจะตกเป็นของพ่อค้าทั้งสิ้น ไม่มีเศษเสี้ยวกำไรใดๆจะตกถึงเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดแม้แต่สตางค์เดียว

วันก่อนเห็นแหล่งข่าวจากวงการพ่อค้าออกมาโกหกคำโตว่า ตอนนี้ราคาข้าวโพดไทยต่ำกว่าราคาข้าวโพดโลก ซึ่งขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างสุดขั้ว ดูอย่างไรก็เป็นไปเพื่อปั่นราคาข้าวโพดในสต็อกของตน จึงอดไม่ได้ที่จะขอเขียนถึงประเด็นนี้ เพราะมันบ่งบอกความเห็นแก่ประโยชน์ส่วนตนจนเกินพอดี

ระดับราคาข้าวโพดของไทยเป็นราคาที่แพงกว่าตลาดโลกตลอดมาจวบจนถึงปัจจุบัน ด้วยกรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ขอความร่วมมือ สมาชิกโรงงานอาหารสัตว์ ให้ซื้อข้าวโพดขั้นต่ำในราคา 8 บาทต่อกิโลกรัม ณ หน้าโรงงานกรุงเทพและปริมณฑล ขณะที่ราคาที่สมาคมอาหารสัตว์ซื้อจริงกับพ่อค้าพืชไร่นั้นสูงกว่าราคานี้มาก

ที่ผ่านมากระทรวงพาณิชย์ ต้องการช่วยเหลือเกษตรกร จึงขอความร่วมมือผู้ซื้อปลายทางอย่างโรงงานอาหารสัตว์ให้รับซื้อผลผลิตข้าวโพดขั้นต่ำในราคา 8 บาทต่อกิโลกรัม ณ หน้าโรงงานกรุงเทพและปริมณฑล ราคาข้าวโพดไทยจึงแพงที่สุดในโลก คือสูงกว่าราคา ณ ตลาดชิคาโก้ ถึงเกือบเท่าตัวมาโดยตลอด เช่น ในปี 2563 ราคาข้าวโพดชิคาโกอยู่ที่ 4.54 บาท/กก. แต่ข้าวโพดไทยมีราคาอยู่ที่ 8.97 บาท/กก. (ดังแสดงในตาราง : ราคาข้าวโพดเลี้ยงสัตว์)

ในห่วงโซ่การผลิตอาหารสัตว์ มีอาชีพ “พ่อค้าพืชไร่” ทำหน้าที่คนกลางในการซื้อผลผลิตจากเกษตรกรมารวบรวมขายส่งให้โรงงานอาหารสัตว์ เป็นข้อต่อสำคัญที่หลายคนอาจมองข้าม และไม่เคยมีการตรวจสอบว่าเกษตรกรถูกกดราคาจากพ่อค้าคนกลางเหล่านี้หรือไม่ ในขณะที่ผู้ผลิตอาหารสัตว์ถูกล็อคราคาซื้อขั้นต่ำที่จะต้องจ่ายให้พ่อค้าพืชไร่ไว้แล้ว …. ดูเผินๆ จึงเหมือนกระทรวงพาณิชย์กำลังปกป้องกำไรของพ่อค้าพืชไร่ โดยใช้เกษตรกรมาอ้าง มากกว่าที่จะคำนึงถึงเกษตรกรจริงๆ

ประเด็นราคาก็เรื่องหนึ่ง แต่ประเด็นมาตรฐานการปลูกข้าวโพดสำคัญกว่า … เท่าที่ทราบ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ และหลายภาคส่วนในธุรกิจนี้ ต่างพยายามอย่างยิ่งที่จะยกระดับมาตรฐานการปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ทั้งการเจรจากับภาครัฐ ให้สนับสนุนมาตรฐาน GAP (Good Agricultural Practice) เพื่อหลีกเลี่ยงการตอบโต้จากผู้นำเข้าสินค้าปศุสัตว์ในยุโรป ในประเด็นความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อม และการเจรจากับ “พ่อค้าพืชไร่” ให้วางระบบตรวจสอบแหล่งปลูกข้าวโพดก่อนที่จะรับซื้อจากเกษตรกร เพื่อลดการซื้อข้าวโพดที่ปลูกอย่างไม่ถูกต้อง แต่กลับกลายเป็นว่า ไม่ได้รับการตอบสนองจากรัฐ และถูกละเลยจาก “พ่อค้าพืชไร่” ซึ่งเป็นคนสำคัญ

การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practices: GAP) คือ แนวทางในการทำการเกษตร เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและปลอดภัยตามมาตรฐานที่กำหนด โดยขบวนการผลิตจะต้องปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค ปราศจากการปนเปื้อนของสารเคมี ไม่ทำให้เกิดมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม และมีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตลอดจนได้ผลผลิตสูง คุ้มค่าการลงทุน ก่อให้เกิดความยั่งยืนทางการเกษตร สิ่งแวดล้อม เศรษฐกิจ และสังคม

จริงอยู่… คนเป็นพ่อค้ามักต้องการกำไรสูงสุด แต่การทำกำไรได้ในระยะยาวอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงภาพรวมในห่วงโซ่อาชีพทั้งระบบย่อมดีกว่า ในทางกลับกัน หากทุกคนยังเพิกเฉยต่อการร่วมมือจัดหาวัตถุดิบข้าวโพดที่ปลอดภัยและไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมเพื่อส่งเข้ากระบวนการผลิตอาหารสัตว์ นอกจากจะทำกำไรไม่ได้แล้ว คำว่า “พ่อค้าพืชไร่” อาจไม่ใช่อาชีพที่สามารถส่งต่อเป็นมรดกให้ลูกหลานได้อย่างจีรังอีกต่อไป

โดย : ดำรง พงษ์ธรรม

บทความที่คุณน่าจะสนใจ

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่3: ฉบับที่14: เดือน ธันวาคม 2567 – มกราคม 2568

ไฮไลท์หัวข้อ ความคืบหน้าการดำเนินงานด้านวัตถุดิบยั่งยืน กิจกรรมความร่วมมือกับหน่วยงานในเครือข่าย ประเด็นติดตามที่สำคัญ ข่าวประชาสัมพันธ์ 136

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่13: เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน 2567

ไฮไลท์หัวข้อการพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ประเด็นที่ต้องติดตาม 334

จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567 

ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 316

ราคา

Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์ต่อเดือน

ข้อมูล

Information
ประชากรสัตว์เเละภาษี

กฏระเบียบ

Rules and Regulations
พรบ.

บทความ

Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ

Right Menu Icon