นักจิตวิทยา Renee Lertzman กล่าวว่าหากจะคุยกันเรื่อง Climate Change นั้นเราก็ไม่ควรจะที่พูดไปในภาพที่มันน่าเศร้าหรือในประเด็นที่จะมีการแก้ไขที่รุนแรงแต่ควรพูดในแง่ดีและสร้างสรรค์ การสื่อสารเรื่องนี้ให้ได้ผลนั้นต้องให้เกิดการมีส่วนร่วม ในเบื้องต้นจะต้องยอมรับกันก่อนว่าเราไม่สามารถแก้ไขปัญหานี้ด้วยลำพัง ดังนั้นการหารือจะต้องเริ่มที่ “เรา” ไม่ใช่ “ฉัน” ขั้นที่สอง เราต้องแสดงความรู้สึกเศร้า โกรธ และ วิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาที่กำลังเกิดอยู่กับโลกใบนี้และขณะเดียวกันก็เน้นการแก้ไขปัญหาไปด้วยกัน สำนักวิจัย Pew Research Center พบว่า 3 ใน 4 หรือ 72% ของคนทั่วโลกกังวลว่า Climate Changeของโลกจะกระทบตนในเวลาใดเวลาหนึ่งในอนาคต และ ประมาณ ครึ่งหนึ่งของคนหนุ่มสาว หรือ 45% มีความรู้สึกว่าการ Climate Change จะกระทบกับชีวิตประจำวันของตน ขณะที่ 77% ใน 10,000 คนจาก 10 ประเทศเห็นว่าอนาคตในเรื่องนี้เป็นสิ่งที่น่ากลัว เราต้องยอมรับสิ่งที่พวกเขาหวาดกลัวและควรดำเนินการผ่านบริษัท สังคมในชุมชน ในรัฐบาลและองค์กรต่างๆ หลังจากนั้นแล้วเราจึงสามารถที่จะเตรียมการเพื่อการปรับตัวและต่อสู้กับมัน: อ่านเพิ่ม: https://www.cnbc.com/2021/09/26/how-to-discuss-climate-change-productively.html
จดหมายข่าวปศุสัตว์ยั่งยืน ปีที่2: ฉบับที่ 12 ประจำเดือน สิงหาคม – กันยายน 2567
ไฮไลท์หัวข้อ– การพัฒนาวัตถุดิบยั่งยืน– การเตรียมความพร้อมการพัฒนาวัตถุดิบ– ความร่วมมือกับหน่วยงานในการพัฒนาวัตถุดิบ– กิจกรรมร่วมกับหน่วยงานในเครือข่าย– ข่าวประชาสัมพันธ์ 9