หลักการและเหตุผล
เนื่องจากการผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในปัจจุบัน ผู้ผลิตจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นหรือมาตรการต่างๆ ที่ไม่ใช่ภาษีมากขึ้น เช่น สิ่งแวดล้อม แรงงาน โดยเฉพาะกฎระเบียบในเรื่องโลกร้อน รวมถึงนโยบายเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศจากประเทศคู่ค้ารายใหญ่ เช่น สหรัฐอเมริกาซึ่งมีนโยบายเน้นเรื่องมาตรฐานความปลอดภัยของสินค้า มาตรฐานแรงงาน และสิ่งแวดล้อม ต่อการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ดังนั้น เพื่อให้เกิดการแข่งขันที่มีประสิทธิภาพ ผู้ผลิตไทยจึงจำเป็นต้องพัฒนากระบวนการผลิตทั้งระบบของห่วงโซ่ เช่น ผู้ผลิตไก่เนื้อเพื่อส่งออกจะต้องดูแลกระบวนการผลิตไก่มีชีวิต การจัดการฟาร์ม มาตรฐานอาหารสัตว์ รวมถึงมาตรฐานของวัตถุดิบ เช่น ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปลาป่น เป็นต้น
เมื่อพิจารณาถึงการผลิตสินค้าของไทยนั้น จะพบว่ายังไม่มีบริษัทใดสามารถควบคุมกระบวนการผลิตทั้งระบบที่ครอบคลุมได้ทั้งประเทศ อีกทั้งผู้ประกอบการยังมีความสามารถต่างกัน แต่ขณะเดียวกันก็ต้องส่งมอบผลผลิตของตนให้แก่กันและกันภายใต้มาตรฐานการผลิตเดียวกัน จึงจำเป็นต้องมีระบบจัดการที่เอื้อต่อการให้ความรู้เพื่อนำไปสู่การพัฒนาระบบการผลิตร่วมกันเพื่อให้ได้สินค้าที่แข่งขันได้ตามมาตรฐานของผู้ซื้อซึ่งมีความต้องการที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
วัตถุประสงค์
หน่วยงานเครือข่าย
วิธีการดำเนินงาน
จัดตั้งกลุ่มธุรกิจให้เป็นระบบ Cluster โดยมีสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยเป็นศูนย์การในการ
ประสานกับสมาคมต่างๆ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาห่วงโซ่การผลิตด้านปศุสัตว์และเพาะเลี้ยงสัตว์ โดยจะดำเนินการใน 4 เรื่องดังต่อไปนี้
Price
วัตถุดิบอาหารสัตว์
Information
ปริมาณความต้องการอาหารสัตว์
Rules and Regulations
พรบ.
Research and Articles
งานวิจัยเเละอื่นๆ